วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทบาทและแนวความคิด

76 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะ...ยินดีตอบคำถามทุกคำถาม
    เท่าที่จะสามารถตอบได้ ค่ะ..!
    เรียนเชิญติดต่อ admin@gunrapree.com

    Dissemination and exchange of educational research.
    Web site for educational personnel and the general public.
    ครูกันต์รพี

    ตอบลบ
  2. พระมหาปัฏฐาน
    เหตุปัจจะโย
    ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็น
    ปัจจัยให้เกิดในที่สุข
    อารัมมะณะปัจจะโย
    อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะธิปะติปัจจะโย
    ธรรมที่ชื่อว่าอธิบดี 4 ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะนันตะระปัจจะโย
    จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง 6 เนื่องกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะมะนันตะระปัจจะโย
    จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้วิเศษในทวารทั้ง 6 พร้อมกัน ไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะหะชาตะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัญญะมัญญะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกค้ำชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นิสสะยะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อุปะนิสสะยะปัจจะโย
    จิตเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่อง
    อาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปุเรชาตะปัจจะโย
    อารมณ์ 5 มีรูปเป็นต้นมากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัย
    เป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปัจฉาชาตะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อาเสวะนะปัจจะโย ชะวะนะ
    จิตที่แล่นไปส้องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    กัมมะปัจจะโย
    บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ในที่ดีที่ชั่ว
    วิปากะปัจจะโย
    ละวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัย
    เป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีที่ชั่ว
    อาหาระปัจจะโย
    อาหาร 4 มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อินทริยะปัจจะโย
    ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เป็นเครื่อง
    อาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ฌานะปัจจะโย
    ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม
    มัคคะปัจจะโย อัฏฐังคิกะ
    มรรคทั้ง 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็น
    ปัจจัยให้บังเกิดในโลกอุดร
    สัมปะยุตตะปัจจะโย จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกันเป็นเครื่อง
    อาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    วิปปะยุตตะปัจจะโย
    รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน เป็นเครื่องอาศัย
    เป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัตถิปัจจะโย
    รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย
    เป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นัตถิปัจจะโย
    เจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    วิคะตะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้
    บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    อะวิคะตะปัจจะโยฯ
    จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้
    บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบันฯ.

    http://gunrapree.com/

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. To instill ethics in young people. The study, which concluded as follows.
      A. Moral means by that. Virtue of the accumulation in the human mind. The experience of touch. The expression of verbal and physical actions of the individual mind. This is useful for individuals and their society.
      The moral is meant by that. Their behavior in the conduct of the things that should be pretty good as a popular favorite. Or accepted by society. For their own peace. Net and peace of others. And the social part.
      Two. Morality and ethics is directly linked to religion. Because all religions teach that there are people who are moral and ethical living there. And especially these three words, this is clearly associated with ethics, moral philosophy. Is associated with religion and morality. Thus, morality and religion are parts of each other. As you can see from that. Moral philosophy is a component of morality and ethics. A religious belief is the highest authority. And what comes together. It makes it so popular respect and adhere to the doctrine. Into the rules of society, in the end.
      Three. To instill ethics in young children and the format and how many are different. But not all theories and methods of cultivation will be fully reflected. It depends on several factors, such as a child, or even the method or theory that makes sense or not. However, the most important thing in planting dusty and ethics to children and young people must develop and cultivate together the three aspects of the brain (thinking), emotional (feeling) and body (implementation) will be. The moral is to cultivate a truly effective and useful.

      ลบ
  3. วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
    ปัญหาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย
    ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี
    ลักษณะพฤติกรรมเด็กวัย 1-3 ปี
    จากการศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ (synapse) ของใยประสาท ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก ประกอบกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจากการค้นคว้า และสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความพร้อมทางทักษะของพัฒนาการมากขึ้น สามารถยืน เดิน วิ่ง ได้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ และเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ตนเป็นผู้กระทำสำเร็จ บางครั้งอาจพบว่าเด็กแสดงปฏิกิริยาตอบโต้กับเหตุการณ์ต่างๆ บางอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการพัฒนาพฤติกรรมและการเรียนรู้ทักษะของพัฒนาการในทุกด้าน

    ซึ่งปัญหาของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ เป็นปัญหาที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ จะเป็นลักษณะของการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งถ้าเด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหมาะสม โดยขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูแล้วนั้น ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมขึ้นอย่างง่ายดาย ตลอดทั้งสภาวะการณ์ทางสังคมในปัจจุบันมีสิ่งล่อแหลมต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่มีทัศนคติต่อเทคโนโลยีค่อนข้างมาก โดยเน้นที่วัตถุมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยตรง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดความเข้าใจในพัฒนาการและมีวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลต่อปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กทั้งสิ้น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. http://gunrapree.com/f_leadership.html
      http://gunrapree.com/images/epc.doc

      ลบ
  4. ชนิดของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

    อาจจำแนกตามสาเหตุได้ดังนี้

    1. พันธุกรรม ปัญหาลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กกลุ่มนี้มี
    ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ เรียนรู้ช้า มีความสนใจสั้น มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ เด็กเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ไม่คล่องตัวเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก

    2. สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
    แทบทั้งสิ้น สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง มีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดสภาพความกดดัน และมีผลต่อการปรับตัวของเด็ก บางครั้งจะพบว่าเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่มากเกินไป (overprotection) หรือน้อยเกินไป(neglected) หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม (improper stimulation) ตามสภาพของเด็กแต่ละคน

    ตอบลบ
  5. ลักษณะพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    1. พฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่ง (ซน) จะพบว่าส่วนใหญ่เด็กวัยนี้ มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการสำรวจตรวจค้นอยู่แล้ว ตลอดทั้งมีภาวะอยู่ไม่นิ่ง ซน และมีช่วงความสนใจสั้น วอกแวก เคลื่อนไหวตัวเองอย่างไร้จุดหมาย แต่ลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้จะพบในเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน เนื่องจากเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น มีความสามารถในการรับรู้ช้ากว่า ร่วมกับความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่ำ และบางครั้งปัจจัยการเลี้ยงดูก็มีส่วนทำให้เด็กเหล่านี้มีพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งมากขึ้นด้วย เนื่องจากความรัก ความสงสารเด็ก เห็นว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการและยังเล็กอยู่ รอให้โตขึ้นกว่านี้จึงค่อยสอนก็ได้

    ตอบลบ
  6. วิธีการแก้ไข
    1.1 จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบ โดยลดสิ่งเร้ารอบตัวเด็ก เช่น เก็บของเล่นของเด็กเข้าตู้
    หรือลิ้นชักให้เรียบร้อย ลดภาพหรือเครื่องตกแต่งภายในห้องเด็กให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อจะไม่กระตุ้นความสนใจของเด็กมากนัก

    1.2 สร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก โดยใช้วิธีปรับพฤติกรรม โดยการสร้างเสริมความ
    สนใจและคงสมาธิในขณะทำกิจกรรม เพื่อลดพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของเด็ก โดยการใช้ของเล่นเพื่อกระตุ้นความสนใจและคงสมาธิให้เด็กมีมากขึ้น อาจให้เด็กเล่นของเล่นครั้งละ 1 ชิ้น เมื่อเล่นเสร็จ ให้สัญญาณเตือนเด็กกว่า “จบ” หรือ “เสร็จ” และบอกว่า “เก็บ” กระตุ้นให้เด็กนำของเล่นเก็บเข้าที่ และเลือกของเล่นชิ้นต่อไปนำมาเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาของการเล่นในระยะแรก อาจเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 1-2 นาที/ชิ้น และค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการเล่นกับเด็กต่อไป

    ตอบลบ
  7. 1.3 จัดตารางเวลาการทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันของเด็กอย่างเป็นระบบ โดยต้องกระทำ
    กิจกรรมเหล่านี้ตามขั้นตอนที่จัดอย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะทำให้เด็กเข้าใจและยอมรับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมดีขึ้น เรียนรู้การทำกิจกรรมง่ายขึ้น

    1.4 ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้กระทำกิจกรรมอย่างมีความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจเด็กให้เกิดสมาธิในการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากก่อน เช่น กิจกรรมการออกกำลังกาย อาจเป็นการวิ่ง เตะบอล กระโดด เพื่อให้เด็กระบายพลังงานที่มีอยู่เต็มเปี่ยม และจึงเบี่ยงเบนไปสู่กิจกรรมที่มีเป้าหมาย ซึ่งมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่า เน้นการฟังและการมีสมาธิในขณะทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมศิลปะ หรือกิจกรรมการนั่งเล่น จะทำให้เด็กสนใจและเรียนรู้กิจกรรมที่มีเป้าหมายได้ดีขึ้น

    1.5 การใช้ยา ในกรณีที่เด็กมีภาวะอยู่ไม่นิ่งมากอาจพิจารณาใช้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม ซึ่งใช้วิธีปรับพฤติกรรมอย่างเดียวแล้วไม่ค่อยได้ผล ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก และความร่วมมือในการปรับพฤติกรรมของที่บ้านและที่โรงเรียนว่ามีความสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และชัดเจนมากน้อยเพียงใด แต่การใช้ยาไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหรือเป็นอันตรายต่อเด็ก เพียงแต่ขอให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และควรรับประทานยาต่อต่อเนื่องและอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งขนาดของยาอาจต้องปรับตามลักษณะพฤติกรรมของเด็กและน้ำหนักของเด็กตามความเหมาะสมด้วย ถึงแม้เด็กจะได้รับยาเพื่อควบคุมพฤติกรรมก็ตาม ก็ยังควรใช้หลักของการปรับพฤติกรรมควบคู่กับการใช้ยาร่วมด้วย จึงจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    2. พฤติกรรมก้าวร้าว อาจมีลักษณะของพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง และผู้อื่น หรือทำลายสิ่งของ ซึ่งในเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นอาจมีปัญหาของพฤติกรรมที่รุนแรงกว่าเด็กปกติ เพราะมีภาวะการณ์เรียนรู้ช้า ไม่เข้าใจ มีความบกพร่องทางการสื่อสาร บอกความรู้สึกหรือความต้องการกับผู้อื่นไม่ได้

    ตอบลบ
  8. ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง หรือถ้าเด็กเกิดพฤติกรรมนี้แล้ว ก็ควรที่จะหยุดยั้งพฤติกรรมเหล่านี้ให้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับเด็กและผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง อย่านำข้อบกพร่องของเด็กเหล่านี้มาเป็นตัวขัดขวางการสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม และไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กอื่นๆ และผู้อื่นด้วย ที่จะต้องยอมรับในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก จะมีผลทำให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษขาดความเข้าใจในการเรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง เพราะคิดว่าพฤติกรรมที่แสดงออกเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งอนาคตเด็กเหล่านี้ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นในสังคม

    ตอบลบ
  9. วิธีการแก้ไข
    2.1 ถ้าพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่รุนแรง และไม่เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น พฤติกรรม
    tantrum ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็ตาม ควรใช้เทคนิคปรับพฤติกรรมในลักษณะของการเพิกเฉย (ignore) ต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นร้องไห้ โวยวายเสียงดัง ฯลฯ และไม่ควรหัวเราะต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก แต่ควรแสดงสีหน้าที่เรียบเฉย นิ่ง สงบ และลอบสังเกตพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ซึ่งอาจใช้เวลาแตกต่างกันประมาณ 10-30 นาที หรือบางครั้งอาจนานถึง 1 ชั่วโมงก็ได้ หลังจากที่เด็กมีพฤติกรรมที่ลดลง สงบลง ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กออกจากเหตุการณ์ช่วงนั้น ไปสู่กิจกรรมอื่นแทน และไม่ควรพูดย้ำเตือนเหตุการณ์นั้นอีก

    2.2 อาจใช้เทคนิคปรับพฤติกรรมด้วยวิธี time out โดยจัดมุมห้อง มุมใดมุมหนึ่งของบ้านหรือ
    ห้องฝึก ซึ่งมุมนั้นควรเป็นมุมเงียบ และไม่มีสิ่งที่เด็กสนใจ แต่ต้องไม่น่ากลัวสำหรับเด็ก ไม่ควรมีอุปกรณ์ใดๆ เป็นแรงเสริมให้เด็กสนใจหรือต้องการ ถ้าเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น หรือทำลายข้าวของ นำเด็กแยกออกจากสิ่งแวดล้อมขณะนั้น และนำเข้ามุมที่จัดไว้สำหรับปรับพฤติกรรม บางครั้งเรียกว่ามุมสงบ โดยให้เด็กอยู่ภายในมุมนั้นชั่วคราว เวลาที่ใช้ในการควบคุมพฤติกรรมเด็ก พิจารณาตามอายุ โดยอายุ (ปี) : เวลา (นาที) เช่น เด็กอายุ 2 ปี ใช้ 2 นาที เป็นต้น และมีครูหรือผู้อื่นคอยดูแลอยู่ห่างๆ และเมื่อครบเวลานำเด็กออกจากมุมนั้น ถ้าเด็กยังแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอีก ก็จะต้องใช้วิธี time out ทุกครั้ง

    2.3 เทคนิคปรับพฤติกรรม โดยวิธีลงโทษ (punishment) เป็นวิธีการหยุดพฤติกรรมที่ไม่
    เหมาะสมโดยทันที พฤติกรรมนั้นค่อนข้างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อตัวเด็กและผู้อื่น ซึ่งถึงแม้จะได้ผลทันทีก็จริง แต่ควรใช้เป็นวิธีสุดท้ายกับเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถเข้าใจถึงเหตุผลต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่กลับเรียนรู้ว่าถ้าจะหยุดพฤติกรรมอื่นๆ จะต้องใช้การลงโทษ (ซึ่งอาจใช้การตี การกัด) ไปใช้แก้ปัญหากับเด็กหรือผู้อื่นแทน

    2.4 ถ้าพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กรุนแรงและเป็นอันตรายต่อผู้อื่นหรือตัวเด็กเอง อาจใช้วิธีกอด
    รัดเพื่อหยุดยั้งพฤติกรรม ถ้าเด็กตัวใหญ่อาจใช้ผ้าห่อรัดตัวเด็กแทน และต้องไม่สนใจต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก เด็กอาจจะดิ้นหรือต่อต้านผู้ปรับพฤติกรรม แต่ผู้ปรับพฤติกรรมต้องมีความชัดเจน อดทน และสม่ำเสมอ ต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก และเมื่อเด็กสงบลงใช้วิธีเบี่ยงเบนไปสู่กิจกรรมใหม่แทน ไม่ควรพูดตำหนิในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และถ้าเด็กเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้อีก ก็อาจจะใช้วิธีการปรับพฤติกรรมเช่นนี้อีกทุกครั้ง จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มากกว่าการพูดตำหนิว่าเด็กอย่างเดียว เพราะเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความบกพร่องในความเข้าใจและการสื่อภาษา

    ตอบลบ
  10. 3. พฤติกรรมไม่ยอมแบ่งปันและไม่รู้จักรอคอย เด็กในวัยนี้ยังรอคอยไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็ตาม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กในวัยนี้ และจะยากมากถ้าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แต่ทักษะของพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเรียนรู้กันได้
    วิธีการแก้ไข
    3.1 จัดกลุ่มกิจกรรมย่อย ซึ่งมีเด็กประมาณ 2-3 คนต่อครู 1 คน โดยครูจัดของเล่นให้มีความหลากหลายและเป็นที่สนใจของเด็ก ครูจะเป็นผู้นำกลุ่มโดยให้เด็กผลัดกันเล่นของเล่น โดยใช้เวลาในการเล่นแต่ละขั้นไม่นานมาก จากนั้นครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนของเล่นกัน จะทำให้เด็กทุกคนในกลุ่มได้เรียนรู้การเล่นอย่างมีกฎเกณฑ์

    3.2 ถ้ากรณีของเล่นที่เด็กสนใจและมีจำนวนจำกัด ครูควรมีกฎเกณฑ์กับเด็กให้ชัดเจน เช่น คนไหนอยากเล่นของเล่นชิ้นนี้ยกมือขึ้น ให้เด็กที่ยกมือขึ้นก่อนได้รับของเล่น ซึ่งในกลุ่มอาจมีเด็ก 4 คนแต่มีเด็ก 3 คนที่ยกมือขึ้น ก็ให้เด็ก 3 คนเล่นของเล่นก่อน หลังจากนั้นครูอาจจับเวลาการเล่นให้เล่นคนละ 5 นาที เมื่อครบเวลา ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กส่งของเล่นให้เพื่อนที่ยังไม่ได้เล่นต่อไป โดยใช้กฎกติกาเดิม แต่ถ้าเกิดกรณีที่เด็กไม่รอคอยพยายามจะแย่งของเล่นออกจากเพื่อน ครูต้องยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ได้ โดยการจับแยกเด็กออกจากกลุ่ม ถึงแม้ว่าเด็กจะร้องไห้ โวยวายก็ตาม ต้องใช้วิธีการเพิกเฉย (ignore) แต่ครูจะให้ความสนใจในเด็กที่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยให้เล่นของเล่นกันต่อไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

    ตอบลบ
  11. 4. พฤติกรรมการกระตุ้นตัวเอง เช่น การโยกตัว การดูดนิ้ว ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้มักเกิดขึ้นเวลาเด็กอยู่คนเดียว ไม่รู้จะทำกิจกรรมอะไร บางครั้งอาจเป็นการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น ดังนั้นเด็กจึงแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อหาความสุขสบายในรูปของการกระตุ้นตัวเอง

    วิธีการแก้ไข

    4.1 สังเกตพฤติกรรมโดยพิจารณาความถี่ที่เกิดขึ้น และพฤติกรรมเหล่านี้เกิดในเหตุการณ์
    ใดบ้าง

    4.2 ให้ความรัก ความเอาใจใส่ อย่าดุว่า ตำหนิ หรือชี้นำพฤติกรรม สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กสนใจ
    และมีพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ทางที่ถูกต้องควรโอบกอด สัมผัสด้วยความรัก และเบี่ยงเบนให้เด็กสนใจในกิจกรรมอื่นแทน อาจใช้ของเล่น หรือเกมการเล่นอื่นเข้ามาแทน

    ตอบลบ
  12. 5. พฤติกรรมดื้อรั้น พฤติกรรมดื้อรั้นของเด็กนั้น ทางด้านจิตวิทยาได้กล่าวว่าเป็นพฤติกรรมที่เด็กต้องการความเป็นอิสระหรือความเป็นเจ้าของในส่วนที่เป็นของตัวเอง เช่น เรื่องความเป็นตัวของตัวเองที่จะทำอะไรเป็นอิสระด้วยตัวเอง พอไม่ได้รับในสิ่งนั้น เด็กก็จะหาทางต่อสู้ โดยแสดงความดื้อรั้นกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใกล้ชิด มักพบในวัย 2-4 ปี ในช่วงนี้เด็กต้องการทำอะไรใหม่ๆ ด้วยตนเอง พบสิ่งใหม่ๆ ก็อยากสำรวจค้นคว้า ผู้ใหญ่ไม่ควรขัดขวางพัฒนาการของเด็กเพียง แต่คอยดูว่าถ้าสิ่งนั้นนำไปสู่อันตราย หรือนำไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่น ก็ต้องคอยป้องกัน หรือยับยั้งอย่างจริงจัง บางครั้งเด็กอาจแสดงพฤติกรรมดื้อรั้นร่วมกับพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ลงไปนอนดิ้น ร้อง กระทืบเท้า ทำลายข้าวของ ทุบตีผู้ใหญ่

    พฤติกรรมเช่นนี้เกิดจากการที่เด็กถูกตามใจจนกระทั่งเคยตัว โดยที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึงว่าการปล่อยตัวตามใจทุกอย่างนั้นเป็นการขัดขวางพัฒนาการของเด็กอย่างร้ายแรงที่สุด เพราะจะทำให้เด็กกลายเป็นคนไม่มีความอดทน นึกอยากได้อะไรก็ต้องได้ทุกอย่าง ขาดวินัย ถ้าไม่ได้ก็จะอาละวาด ก้าวร้าว ถ้าเด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวแล้วเด็กได้ในสิ่งที่ต้องการ ครั้งต่อไปเด็กก็จะเอาพฤติกรรมก้าวร้าวเช่นนั้นเป็นเครื่องต่อรองกับคุณพ่อคุณแม่อีก หรือบางทีก็จะยิ่งอาละวาดหรือก้าวร้าวมากขึ้น เพราะรู้ว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้ผู้ใหญ่ยอม หรืออีกสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยในพฤติกรรมเด็กดื้อรั้น คือเด็กถูกยั่วยุด้านเดียว เช่น ถูกขัดใจอยู่ตลอดเวลา หรือถูกแหย่ให้โกรธตลอดเวลา จนกลายเป็นเด็กขี้โมโห หรือกรณีถูกลงโทษโดยไม่เป็นธรรมหรือถูกลงโทษรุนแรงเกินไป สิ่งเหล่านี้จะเป็นการเร้าอารมณ์ให้เด็กเกิดพฤติกรรมดื้อรั้นแทบทั้งสิ้น
    วิธีการแก้ไข
    5.1 ไม่ควรบังคับเด็กมากเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรตามใจมากเกินไป ถ้าทำตามไม่ได้หรือให้ไม่ได้ก็ควรบอกว่าทำไม่ได้ ต้องยืนยันตามเหตุผลนั้นอย่างจริงจัง การกระทำอย่างอ่อนโยนแต่เด็ดขาดชัดเจน เป็นวิธีหนึ่งที่แสดงให้เด็กรู้ว่ามีคนรักและเอาใจใส่ความรู้สึกของเด็ก

    ตอบลบ
  13. 5.2 ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมดื้อรั้น เช่น มีพฤติกรรมต่อต้าน ร้องไห้โวยวาย วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดในขณะนั้นคือ ต้องใจเย็น อย่าให้อะไรในขณะที่เด็กเกิดพฤติกรรมเช่นนั้น ถ้าเห็นว่าไม่มีเหตุการณ์อะไรที่หนักหนาและไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก อยากร้องก็ปล่อยให้ร้อง อย่าแสดงอาการวิตกกังวลกับพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น เด็กก็จะค่อยๆ สงบและเงียบลง เมื่อเด็กเงียบควรเบี่ยงเบนความสนใจไปทางอื่น พฤติกรรมการดื้อรั้นก็จะลดลง และถ้าเด็กก้าวร้าวโดยการทำร้ายตัวเอง/ผู้อื่นร่วมด้วย ควรจับ/กอดรัดเด็กไว้ก่อนเพื่อหยุดพฤติกรรมนั้น เมื่อเด็กสงบลงก็เบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น เมื่อเด็กมีอารมณ์ดื้อรั้น ผู้ใหญ่ต้องใจเย็น สงบ แต่เอาจริง จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้หรือไม่ควรทำ

    ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็ต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็กด้วย ถ้าเอาแต่สอนเด็กแต่ตัวเองไม่ทำตามที่สอนหรือไม่ทำตามที่พูด เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าผู้ใหญ่ดีแต่พูดเท่านั้น เช่น บอกว่าถ้าทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะต้องถูกลงโทษ เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมนั้นจริงกลับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เด็กก็จะรู้ว่าพ่อแม่ไม่เอาจริง และเด็กก็จะยิ่งแสดงพฤติกรรมนั้นมากขึ้น ก็จะต้องขู่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้หรือเข้าใจพฤติกรรมนั้นได้ กลับเข้าใจว่าเป็นเพียงคำขู่ ไม่มีอะไรจริงจัง กรณีเช่นนี้ เป็นการส่งเสริมให้เด็กกลายเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมดื้อรั้นมากขึ้น

    ปัญหาของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กในวัยนี้ไม่ยากที่จะแก้ไข ถ้าเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กและเทคนิคการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ก็สามารถนำเด็กไปสู่พฤติกรรมที่ดีที่เหมาะสมตามวัย

    ตอบลบ
  14. ปัญหาอุปสรรคของการบริหารและการจัดการศึกษา
    ในที่นี้จะกล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคของการจัดการศึกษา โดยอาศัยการสรุปและสังเคราะห์จากรายงานการประเมินผลใน 5 ด้าน คือด้านการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งโดยภาพรวมและเขตพื้นที่การศึกษา ด้านการปฏิรูปการเรียนรู้และการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน รายงานประเมินผลเหล่านี้ จัดทำโดยทีมนักวิชาการชุดต่างๆภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ผู้เขียนได้เลือกประเด็นข้อสรุปด้านปัญหาและอุปสรรคซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องตระหนักและพยายามปฏิรูปการศึกษาให้ดีขึ้น มาใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอและขยายความ ดังต่อไปนี้คือ
    1. การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปการศึกษา
    สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักเลขาธิการการศึกษาได้ทำรายงานผลการประเมินการบังคับใช้กฎหมายการศึกษาในรอบปี 254829 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการจัดประชุมสัมมนา ได้ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่ายังใช้อธิบายสภาวะการจัดการศึกษาในช่วงปี 2549 – 2550 ได้อยู่ เนื่องจากระบบการศึกษาไทยขึ้นอยู่กับระบบราชการที่ใหญ่โตเทอะทะการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นนั้นได้ช้ามาก

    ตอบลบ
  15. 1.1 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
    การจัดการศึกษาที่กฎหมายระบุว่ารัฐต้องจัดให้เปล่าอย่างมีคุณภาพ 12 ปีอย่างทั่วถึง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.9 เห็นว่ายังดำเนินการไม่ทั่วถึง ผลการดำเนินงานมีคุณภาพร้อยละ 70.5 และในเรื่องอัตรากำลังครูอาจารย์ที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลาง ตลอดจนคุณวุฒิครู พบว่าร้อยละ 92.62 เห็นว่าอัตรากำลังครูที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลางนั้นยังไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน จำนวนนักเรียนและชั้นเรียนที่ต้องรับผิดชอบ ด้านการจัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายพบว่า ร้อยละ 36.8 ของกลุ่มตัวอย่างไม่พบการเก็บค่าใช้จ่าย และร้อยละ 63.2 พบว่ามีการเก็บค่าใช้จ่าย โดยเก็บเป็นค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ค่าไฟฟ้าสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ค่าจ้างครูสอนพิเศษในวิชานอกเหนือจากหลักสูตรอื่นๆ ค่ากิจกรรมการเรียนการสอนพิเศษ ค่าอุปกรณ์กีฬา และค่าบำรุง

    ตอบลบ
  16. 1.2 สิทธิและโอกาสในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
    นโยบายการจัดการศึกษาให้แก่ผู้พิการได้ทั่วถึง พบว่าการดำเนินงานสามารถจัดได้อย่างทั่วถึงร้อยละ 65.8 ยังไม่ทั่วถึง 34.2 โรงเรียนส่วนใหญ่จัดการศึกษาให้ผู้พิการเฉพาะในระบบโรงเรียน ส่วนการจัดการศึกษาเพื่อให้เอื้อกับผู้เรียนที่ด้อยโอกาสเป็นพิเศษ ยังมีการดำเนินการน้อยมาก

    1.3 การศึกษาภาคบังคับ
    การแจ้งให้ผู้ปกครองให้ได้ทราบล่วงหน้าก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี พบว่ามีการดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 75.4 และไม่ได้แจ้ง 24.6 สาเหตุเนื่องจากการกำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบระหว่างสำนักงานพื้นที่การศึกษากับองค์กรปกครองท้องถิ่นเฉพาะโรงเรียนใหญ่ๆ ในพื้นที่เขตเมืองยังไม่ชัดเจน และเห็นว่าการแจ้งและไม่แจ้งมีผลไม่ต่างกัน การแจ้งเป็นภาระของเขตพื้นที่การศึกษา
    1.4 การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
    กลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่าสถานศึกษามีการจัดการการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุดมีร้อยละ 61.3 และร้อยละ 40.17 มีความเห็นว่าสถานศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่ยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยสรุปผลการดำเนินงานในหมวดซึ่งกำหนดให้มีการเรียนการสอนต้องยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ทั้งทางด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริม สนับสนุนสื่อเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับในเขตพื้นที่การศึกษา ยังดำเนินการอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 เท่านั้น

    ตอบลบ
  17. 1.5 บทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพื้นที่การศึกษา
    มีผู้เห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่กำหนดใน กฎกระทรวงนี้เหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 70.5 และยังไม่เหมาะสมร้อยละ 29.5 อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เห็นว่าควรสรรหาให้ได้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มวิชาชีพอย่างแท้จริง และการเลือกประธานกรรมการ ควรให้กรรมการเลือกกันเอง คณะกรรมการพื้นที่การศึกษาที่ได้มักไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะบทบาทในการพัฒนาการศึกษา และมักสรรหาได้จากกลุ่มข้าราชการด้วยกันเอง ผู้แทนกลุ่มต่างๆ มักมีลักษณะกระจุกไม่กระจาย ควรให้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ชัดเจน ขั้นตอนและวิธีการสรรหาควรโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก
    1.6 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา
    ร้อยละ 66.3 เห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษาเหมาะสมดีแล้ว อย่างไรก็ตามการสรรหากรรมการสถานศึกษามักจะได้กรรมการที่ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการศึกษา และไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา หลายโรงเรียนสรรหาคณะกรรมการโดยการเชิญบุคคลมาสมัครเนื่องจากผู้แทนตามกฎหมายนั้นหายาก กรรมการบางโรงเรียนมีภารกิจส่วนตัวมากไม่มีเวลาให้กับการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน การกำหนดคุณสมบัติกรรมการแบบเฉพาะเจาะจงเกินไปทำให้สรรหาได้ยาก เสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาโดยให้โรงเรียนมีส่วนร่วม และควรให้มีการฝึกอบรมกรรมการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ให้เห็นความสำคัญและสามารถสละเวลามาปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มที่ ควรจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครู/อาจารย์ในสถานศึกษา นอกจากนี้ กรรมการสถานศึกษา ควรได้รับการสนับสนุนค่าตอบแทนตามสมควร
    1.7 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว
    การดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ
    1.8 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถานประกอบการ
    การดำเนินงานในเรื่องสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถานประกอบการ เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการได้ระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ มีความพร้อมในด้านการอำนวยความสะดวกในระดับ 66.9 มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการอยู่ในระดับร้อยละ 60.4 ในขณะที่พนักงาน/ลูกจ้าง ของสถานประกอบการมีความต้องการให้สถานประกอบการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ในระดับร้อยละ47.60 และเห็นว่าสถานประกอบการมีความพร้อมในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับร้อยละ 23.80 เท่านั้น

    ตอบลบ
  18. 2. การประเมินด้านการบริหารการจัดการศึกษา
    ปัญหาที่ยังคงอยู่คือ
    1) ยังไม่มีการตระหนักถึงความสำคัญการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กอย่างมีคุณภาพ ทั้งที่การศึกษาวัยนี้สำคัญที่สุด เพราะสมองของเด็กเล็กพัฒนามากที่สุด และเป็นการวางรากฐานที่จะช่วยให้เด็กในช่วงอายุต่อๆไปเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในช่วงปี 2549-2550 แม้จะสามารถจัดได้เป็นสัดส่วนต่อประชากรในวัยเดียวกันสูงขึ้นกว่าปี 2547 - 2548 แต่ก็มีปัญหาเรื่องครู/พี่เลี้ยงที่สอนระดับปฐมวัยส่วนใหญ่มักใช้ครูอัตราจ้างที่มีคุณวุฒิต่ำ ไม่ได้จบการศึกษาและหรือได้รับการฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยมา รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษามักไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาก่อนประถมศึกษาเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้ว่าหลายแห่ง จัดครูที่มีคุณภาพต่ำสุดเท่าที่มีอยู่ เช่น สุขภาพไม่ดี สูงอายุ เบี่ยงเบนทางเพศ ครูอัตราจ้าง มาสอนเด็กอนุบาล เพราะครูประจำการไม่ชอบสอน เนื่องจากงานดูแลเด็กเล็กเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความเอาใจใส่มาก และเพราะผู้บริหารครูส่วนหนึ่งคิดเอาง่ายๆว่าเด็กเล็กยังโง่อยู่ ให้ใครมาสอนก็ได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด และการใช้ครูที่มีความรู้และวุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ จะมีผลกระทบต่อการวางรากฐานไปตลอดชีวิต
    2) เด็กในวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ยังไม่สามารถเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับได้ครบทุกคน ซึ่งสาเหตุแรกเนื่องจากผู้ปกครองบางคนละเลยไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน และไม่มีการติดตามว่าเป็นเรื่องที่ทำผิดกฎหมายที่ว่าพ่อแม่ต้องส่งเด็กทุกคนให้เรียนการศึกษาภาคบังคับในฐานะพลเมืองของรัฐ สาเหตุต่อมาคือเกิดจากการออกกลางคันของเด็ก เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ การย้ายตามครอบครัวไปประกอบอาชีพอื่นๆแล้วไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ ระบบการส่งต่อเด็กระหว่างโรงเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีระเบียบการรับนักเรียนที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนยังไม่ตอบสนองความต้องการของเด็กด้อยโอกาสและยากจน มีปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ไม่ได้เข้าเรียน ฯลฯ นอกจากกลุ่มเด็กวัยที่ควรได้เรียนภาคบังคับจะไม่ได้เรียนจำนวนมากพอสมควรแล้ว เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ไม่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือออกกลางคันก็ยังมีสัดส่วนสูงด้วยเช่นกัน

    ตอบลบ
  19. 3) ผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายยังนิยมเรียนประเภทสามัญศึกษามากกว่าสายอาชีวศึกษาส่งผลให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มได้ไม่มาก ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานระดับกลางเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
    4) ปัญหาสถานศึกษาอาชีวะส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ไม่กระจายตัวไปในชนบท ทำให้เด็กในชนบทไม่สามารถเรียนได้ เนื่องจากการเดินทางเข้ามาเรียนในตัวเมืองทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งสถานศึกษาอาชีวะเองก็ยังมีปัญหาภาพพจน์ว่า เด็กเกเร ชอบตีกัน ไม่ค่อยมีคุณภาพทำให้ผู้ปกครองที่มีค่านิยมอยากให้ลูกทำงานนั่งโต๊ะมากกว่างานช่างหรืองานแรงงานอยู่แล้วไม่นิยมส่งลูกเข้าเรียนในอาชีวศึกษา ทั้งหมดนี้ทำจำนวนและสัดส่วนของผู้เรียนอาชีวะเพิ่มได้น้อย
    5) การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งเด็กมีปัญหา เด็กปัญญาเลิศ ยังดำเนินการได้ไม่มากเท่าที่ควร ถึงแม้ว่ารัฐจะเขียนไว้ในนโยบายว่าให้ความสำคัญมากขึ้นก็ตาม เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่มีองค์ความรู้และงบประมาณพอเพียง ไม่มีการสำรวจจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างแท้จริง ขาดองค์ความรู้ในการจัดการ ขาดเครื่องมือในการคัดกรอง ขาดบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการสอน และการประสานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน

    ตอบลบ
  20. 6) การจัดทำกฎหมายเพื่อให้บุคคลและสถาบันทางสังคมต่างๆมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ยังดำเนินการล่าช้า ไม่มีการรณรงค์เรื่องความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาให้คนภายนอกสนใจ ทำให้การมีส่วนร่วมของบุคคลและสถาบันเหล่านี้ยังมีน้อย ทั้งเมื่อมีบุคคลภายนอกมาขออนุญาตจัดตั้งศูนย์การเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการจัดการศึกษาและการจัดทำแผนการจัดการศึกษาโดยบุคคลภายนอก ทำให้การดำเนินการล่าช้า
    7) การขยายการรับนักเรียนนักศึกษาระดับและสาขาต่างๆเป็นไปตามความประสงค์และความพร้อมของสถานศึกษาต่างๆ เช่น โรงเรียนประถมศึกษาอยากขยายโอกาสในการรับนักเรียนชั้นประถมปลายเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมต้น สถาบันอาชีวะอยากขยายเป็นปวส.และปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษามีครูอาจารย์ด้านไหนมากหรือคิดว่าสาขาไหนมีคนนิยมเรียนมาก ก็จะขยายสาขานั้นๆ ไม่ได้มีการประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อที่สถาบันแต่ละแห่งจะผลิตด้านที่ตนชำนาญให้มีคุณภาพมากกว่าจะเน้นปริมาณ สถาบันการศึกษาของรัฐไม่ควรขยายตัวทางปริมาณมากไป น่าจะเปิดทางให้สถาบันเอกชนบ้าง รวมทั้งควรมีการพิจารณาในระดับประเทศว่าควรขยายการรับนักเรียนนักศึกษาด้านที่ยังขาดแคลนด้านไหนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ยังขาดความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา สถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ในทุกระดับการศึกษา
    9) ยังขาดการปรับระบบการบริหารจัดการอาชีวะศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
    10) การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขาดการจัดระบบและจัดหมวดหมู่แหล่งเรียนรู้ และหน่วยงานที่ดำเนินการมีลักษณะต่างหน่วยงานต่างทำ ห้องสมุดในสถานศึกษาในระบบและสถาบันต่างๆยังไม่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปเข้ารับการบริการอย่างกว้างขวาง

    ตอบลบ
  21. 11) สถานศึกษาในระบบยังไม่ได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจที่เพียงพอจากรัฐในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้บริหารและครูคิดอยู่ในกรอบการทำงานตามภาระหน้าที่ขั้นต่ำในระบบ มากกว่าจะคิดถึงเป้าหมายในวงกว้างว่าสถานศึกษาที่ดีอยู่แล้วอาจช่วยให้บริการประชาชนมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้นได้ เหตุผลหนึ่งคือภาระงานการศึกษาในระบบก็มีมากอยู่แล้ว แต่เหตุผลใหญ่คือผู้บริหารและครูคิดในกรอบข้าราชการมากกว่าคิดในแง่นักพัฒนา/นักปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนทั้งหมด
    12) การกำหนดกฎเกณฑ์ การดำเนินงานเทียบผลการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีประสบการณ์เรียนนอกระบบ ตามอัธยาศัย หรือย้ายมาจากที่อื่น เป็นไปค่อนข้างล่าช้า เพราะเป็นเรื่องใหม่และนักบริหารครูอาจารย์คิดอยู่ในกรอบเก่ามากเกินไป สถาบันบางแห่งรวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาไม่ประสงค์จะรับเทียบโอนให้ผู้เรียนที่มีประสบการณ์หรือย้ายมาจากที่อื่น เพราะต้องการให้ตั้งต้นลงทะเบียนเรียนใหม่ที่สถาบันของตนเอง ทำให้การจัดการศึกษาไม่คล่องตัวยืดหยุ่นในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

    ตอบลบ
  22. 3. ปัญหาด้านการบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา
    แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาด้านบริหารจัดการแนวคิดหนึ่งที่ได้นำไปใช้แล้วคือ เปลี่ยนจากการบริหารแบบกระจายงานไปสู่สำนักงานประจำจังหวัดและอำเภอ (โดยแยกเป็นหน่วยที่ดูแลประถมและหน่วยที่ดูแลมัธยม) เป็นเขตการศึกษา 175 เขตที่ดูแลทั้งประถมมัธยมและการศึกษาอื่นๆแทน การเปลี่ยนแปลงแนวทางการบริหารดังกล่าว มีผลดีผลเสียอย่างไร น่าจะพิจารณาได้จาก การติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่มี 175 แห่งทั่วประเทศเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2548 ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ทำไว้ ดังต่อไปนี้ สำนักงาน สพท. ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการและช่วยเหลือให้บริการสถานศึกษาได้ในระดับที่พึงพอใจมี 81 เขต มีความพร้อมพอสมควร 64 เขต ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 28 เขต และต้องมีการเปลี่ยนแปลง 2 เขต

    ตอบลบ
  23. ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารแบบเขตพื้นที่การศึกษาที่สำคัญคือ
    1. จำนวนบุคลากรในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) มีความแตกต่างกันมาก ทั้งที่ภารกิจเหมือนกัน บุคลากรจะนิยมไปอยู่ที่ สพท.เขต 1 ในตัวจังหวัด ทำให้เขต 1 มักมีบุคลากรเกินกรอบอัตราที่กำหนด ส่วนเขตอื่นๆจะมีจำนวนบุคลากรน้อย ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนศึกษานิเทศก์ที่สามารถนิเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาได้ ทำให้สพท.เขตอื่นๆ นอกจากเขต 1 ดำเนินงานตามภารกิจได้ไม่สมบูรณ์
    2. ข้าราชการ กพ. ใน สพท. ขาดโอกาสในทุกเรื่อง และไม่ได้รับการพัฒนา ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
    3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 175 แห่ง มีบริบทที่ต่างกัน บางเขตมีโรงเรียนที่ต้องดูแลมาก ทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากสำนักงานเขต ทำให้การประสานงานและการติดต่อสื่อสารล่าช้า ผู้บริหารและครูต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก (ปัญหานี้ได้มีผู้เสนอให้เพิ่มเขตพื้นที่การศึกษาเป็น 295 เขต)
    4. การแบ่งบทบาทอำนาจหน้าที่ระหว่างสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางยังขาดความชัดเจน โดยยังคงมีการบังคับบัญชาจากส่วนกลาง มีการสั่งการมาก ซึ่งขัดกับหลักการกระจายอำนาจ และหนังสือสั่งการส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือด่วนที่สุดจากส่วนกลางให้ สพท.ส่งต่อ ไปให้โรงเรียน โดยที่ทั้ง สพท.และโรงเรียนไม่มีโอกาสบริหารจัดการเอง
    5. การยุบเลิกหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับจังหวัดและอำเภอและจัดตั้งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การเชื่อมโยงประสานงานกับหน่วยงานอื่นในระดับจังหวัดและอำเภอในการนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติค่อนข้างมีปัญหา
    6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่ใช่เขต 1 ที่อยู่นอกตัวจังหวัดมักไม่มีความพร้อมทั้งในเรื่องอาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และบุคลากร โดย เฉพาะในจังหวัดที่มี 3 เขตขึ้นไป ทำให้สำนักงานเขตนอกตัวจังหวัดปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถให้บริการแก่สถานศึกษาและครูในพื้นที่อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
    7. วัฒนธรรมองค์กรเดิมซึ่งบุคลากรส่วนหนึ่งที่เคยอยู่กับกรมสามัญศึกษาและส่วนหนึ่งเคยอยู่สำนักงานประถมศึกษายังผูกติดกับผู้บริหาร สพท. ทำให้วัฒนธรรมองค์กรของแต่ละ สพท. ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (เนื่องจากบุคลากรจากสำนักประถมมีมากกว่า จึงมักได้ตำแหน่งบริหารและทำให้บุลากรจากกรมสามัญศึกษาอึดอัดและเรียกร้องให้มีการเพิ่มเขตเพื่อดูและมัธยมศึกษาโดยตรง)
    8. กรรมการเขตพื้นที่การศึกษาไม่มีบทบาท เนื่องจากมีการประชุมน้อยมาก ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้กำหนดการประชุม บางแห่งประธานกรรมการเขตพื้นที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จึงเกิดปัญหาในทางปฏิบัติงาน คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษามีบทบาทเป็นเสมือนที่ปรึกษาเท่านั้น การตัดสินใจอยู่ที่ผู้บริหาร คณะกรรมการบางท่านยังไม่เข้าในบทบาทของตนเอง ขาดความพร้อมและศักยภาพ
    9. กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ออกมาล่าช้า ระเบียบการปฏิบัติต่างๆ ก็ไม่ชัดเจน ทำให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินงานตามภารกิจได้ไม่สมบูรณ์ เช่น เรื่องการสนับสนุนส่งเสริมสถานศึกษารูปแบบต่างๆ
    10. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่าการกระจายอำนาจให้สถานศึกษานั้นไม่ได้กระจายอำนาจอย่างแท้จริง สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเรื่องวิชาการและบริหารทั่วไปเท่านั้น ส่วนเรื่องงบประมาณและการบริหารงานบุคลากรสถานศึกษาไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง การสรรหา การคัดเลือก การพิจารณาความดีความชอบบุคลากร การลงโทษข้าราชการที่มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ยังขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการเสนอความต้องการหรือความเห็นขึ้นไป ส่วนการโอนโยกย้ายบุคลากรภายในเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งอยู่ในส่วนกลาง ทำให้บ่อยครั้งโรงเรียนไม่ได้บุคลากรตรงกับความต้องการของโรงเรียน

    ตอบลบ
  24. • ด้านงบประมาณ ถึงจะมีกฎหมายเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในการแสวงหารายได้เพื่อนำมาใช้จัดการศึกษาได้เอง และสถานศึกษามีอำนาจในการปกครองดูแล บำรุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา แต่เนื่องจากสถานศึกษายังเป็นหน่วยงานราชการ จึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการคลัง รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่นเดียวกับหน่วยงานทางราชการอื่นๆ ทำให้ไม่มีความคล่องตัวในทางปฏิบัติ รวมทั้งผู้อำนวยการรู้สึกยุ่งยากและเสี่ยงที่จะดำเนินการแบบใหม่ที่ต่างไปจากแบบเดิม
    • สถานศึกษา โดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็ก ขาดความพร้อมที่จะบริหารการเงินและบุคลากรได้ด้วยตนเอง เนื่องจากบุคลากรมีน้อย และมีความรู้ความเข้าใจยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆทั้งด้านการเงิน การพัสดุ การบัญชี และการดำเนินการทางกฎหมาย รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาเองถึงแม้จะได้รับการถ่ายทอดความรู้มาบ้าง แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ทราบว่ามีอำนาจบริหารจัดการในเรื่องต่างๆได้มากน้อยเพียงใด

    ตอบลบ
  25. 4. การประเมินด้านการปฏิรูปการเรียนรู้
    การปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษามีเป้าหมายจะให้ผู้บริหาร ครูอาจารย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพขึ้น ดังนั้นการประเมินด้านกระบวนการเรียนรู้และผลกระทบต่อผู้เรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญ การติดตามประเมินผลด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ32 ได้ข้อสรุปที่น่านำมาอธิบายขยายความต่อคือ
    4.1หลักสูตร
    หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 ที่ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาและจัดทำหลักสูตรโดยสถานศึกษา มีปัญหาด้านครูไม่มั่นใจวิธีการการจัดทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ครูไม่เคยดำเนินการมาก่อน ประกอบกับวิทยากรที่ไปให้ความรู้แก่ครูมีหลากหลายแนวคิด ทำให้ครูเกิดความสับสนในการดำเนินการ การจัดทำสื่อการสอน เนื้อหาในกลุ่มสาระที่มีมากเกินไป ควรมีการดำเนินการแก้ไขให้มีพี่เลี้ยงที่มีความชำนาญและมีความเข้าใจกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริง เป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเพื่อให้ครูสามารถดำเนินการได้ และอาจระดมกำลังเพื่อร่วมกันทำหลักสูตรท้องถิ่นกันในระดับจังหวัด และภูมิภาค ไม่ใช่ให้แต่ละสถานศึกษาทำหลักสูตรเอง ซึ่งมักใช้วิธีลอกเลียนกัน
    4.2 การจัดการเรียนการสอน
    ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาการขาดแคลนครู โรงเรียนมีครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ สาขาที่ขาดแคลนได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ หน่วยงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการเกลี่ยครูจากโรงเรียนที่มีครูเกินไปช่วยสอน และอนุมัติให้จ้างครูช่วยสอน หรือขอความช่วยเหลือจากสถาบันอุดมศึกษาให้นักศึกษามาช่วยสอน โดยมีการเทียบโอนหน่วยกิตการเรียนได้ ส่วนในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษา ยังขาดการเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เป็นปัญหาในด้านความร่วมมือของสถานประกอบการ ซึ่งต้องเร่งขอความช่วยเหลือกันต่อไป ควรมีโครงการที่มีการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้ให้มีการประสานความช่วยเหลือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ในลักษณะของการส่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ครูในโรงเรียนอย่างทั่วถึง เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กดำเนินงานปฏิรูปการเรียนรู้ได้น้อยกว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ อันเนื่องจากข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง และสถานที่ตั้งห่างไกล

    ตอบลบ
  26. 4.3 การวัดประเมินผลผู้เรียนและรับเข้าเรียนต่อ
    ปัญหาที่พบในทุกระดับและประเภทการศึกษา คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการวัดประเมินผลผู้เรียนควรได้รับประเมินผลในหลายด้าน เช่น ความประพฤติ การทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการทดสอบความรู้ ซึ่งครูส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการประเมินผลแบบใหม่ไปแล้ว แต่ยังมีปัญหาในการนำไปปฏิบัติ ดังนั้น คงต้องสนับสนุนส่งเสริมครูในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควรมีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ นอกจากนี้ควรมีการทบทวนแบบฟอร์มต่างๆที่กำหนดให้สถานศึกษาจัดทำรายละเอียดเพื่อเป็นเอกสารแสดงผลการเรียนของนักเรียนซึ่งมีมากเกินไป การส่งเสริมการประเมินผลผู้เรียนแบบใหม่ต้องทำควบคู่ไปกับการการประเมินผลเพื่อรับผู้เรียนไปเรียนต่อในระดับสูงขึ้น โดยควรพิจารณาจากการประเมินผลหลายด้านมากกว่าการวัดโดยคะแนนการสอบ ให้สอดคล้องกันกับการประเมินผลแนวใหม่
    4.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT เพื่อการเรียนรู้
    นักเรียนในระดับประถมศึกษายังได้รับการพัฒนาด้านการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่านักเรียนในระดับมัธยมและอุดมศึกษามาก จึงควรมีเร่งดำเนินการเพื่อให้นักเรียนประถมศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลได้รับโอกาสในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เช่นเดียวกับนักเรียนในเมืองด้วย
    4.5 การพัฒนาครูคณาจารย์ มีปัญหาทางด้านงบประมาณการสนับสนุนครู และการขาดการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูทั้งในทางวิชาการและจิตวิทยาการสอน การขาดงบประมาณสำหรับส่งเสริมให้ครูได้ทำงานวิจัย และขาดการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ครูอาจารย์มีโอกาสขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ ควรเร่งพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ว่าครูจะได้รับการอบรมบ่อยครั้ง แต่ครูจำนวนหนึ่งก็ยังปฏิบัติไม่ได้ และบางส่วนยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ควรส่งเสริมและพัฒนาครูประจำการให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ รวมถึงวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพทดแทนครูเก่า ซึ่งที่ผ่านมาถึงจะมีโครงการโดยเฉพาะก็ยังผลิตครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ได้น้อยมาก

    ตอบลบ
  27. 4.6 การขาดแคลนครูอาจารย์ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาการขาดแคลนครูค่อนข้างมากทั้งที่ขาดอยู่แล้วและมีผู้เกษียณโดยทางราชการตัดอัตราการให้บรรจุข้าราชการใหม่และลูกจ้างทำให้มีครูใหม่มาทดแทนไม่เพียงพอ ส่วนในระดับอุดมศึกษา มีคณาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ รวมทั้งที่มีวุฒิปริญญาเอกเกษียณอายุเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทุนการศึกษาต่อในระดับสูงมีค่อนข้างน้อย ดังนั้น จึงควรมีมาตรการทดแทนอัตรากำลังที่ขาดแคลนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การจ้างครูอัตราจ้างในระยะสั้น ส่วนในระยะยาว ควรมีอัตรารองรับครูอาจารย์ในสาขาที่ขาดแคลน รวมทั้งมีการบรรจุครูอาจารย์ ทดแทนอัตราที่เกษียณหรือลาออกในแต่ละปีเป็นกรณีต่างหากจากระบบราชการโดยรวม ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายมุ่งลดอัตรากำลังข้าราชการทั้งประเทศลง เพราะงานการศึกษาเป็นงานที่ต้องใช้บุคลากรโดยตรงและปัญหาครูอาจารย์ขาดแคลนเป็นปัญหาจริง ที่มีผลเสียหายร้ายแรงอย่างเห็นได้ชัดกว่างานราชการในกระทรวงอื่นๆที่อาจปรับตัวได้ดี

    ตอบลบ
  28. 5. การประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน
    สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ได้ทำรายงานการประเมินการปฏิรูปการเรียนรู้ดับขั้นพื้นฐาน ผลลัพธ์ผู้เรียน 33ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นที่ว่าสนใจนำมาสรุปไว้ในที่นี้เพื่อประโยชน์ของการเรียนรู้ร่วมกันดังต่อไปนี้
    5.1 ด้านความรู้ด้านวิชาการ 5 วิชา
    จากการวัดความรู้ของผู้เรียนในด้านวิชาการ 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ พบว่า ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษของผู้เรียนอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ30.51 และร้อยละ38.42 ตามลำดับ) วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.09 และร้อยละ 47.53 ตามลำดับ) วิชาสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.23) ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าความสามารถของผู้เรียนในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 30.17, 19.02และ 30.55 ตามลำดับ) วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 58.23)
    5.2 การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 4 ด้าน
    จากการวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ วิชาการ ทักษะความคิด ทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน และคุณลักษณะการเป็นพลเมืองที่ดี พบว่าผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 คุณลักษณะเกือบทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 44.36 42.66 และ 49.67 ตามลำดับ) ยกเว้นด้านคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี ที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.75) สำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้วิชาการอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 39.14) ด้านทักษะการคิดและด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.82 และ 47.66 ตามลำดับ) ในด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.02)

    ตอบลบ
  29. 5.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามวิชา พบว่า ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.66-66.10) มีคุณภาพพอใช้ทุกรายวิชา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษมีผู้เรียนที่ต้องปรับปรุงเป็นจำนวนมาก (33.02, 38.30 และ 34.44 ตามลำดับ) ผลการประเมินในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 61.41-82.37) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน ส่วนผลการประเมินอยู่ในระดับดีมีเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ5.28-26.47) โดยด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีมีมากที่สุด (ร้อยละ 26.47) อยู่ในระดับต่ำที่สุดคือด้านทักษะความคิด (ร้อยละ 5.28) และพบว่าผู้เรียนที่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ต้องปรับปรุงอย่างมาก (ร้อยละ 24.95) ในด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน สำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.58 -62.11) ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ส่วนวิชาภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ผู้เรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.68, 76.63) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ การประเมินในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่(ร้อยละ 51.30-69.85) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ ทุกด้าน และอยู่ในระดับที่ดีมาก (ร้อยละ 46.02) ในด้านทักษะการคิด ส่วนด้านที่ต้องปรับปรุงที่มีสัดส่วนสูงคือด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน (ร้อยละ 29.43) ผลการประเมินงานวิจัยโดยรวม ผู้เรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงถึงร้อยละ 40-60 ระดับพอใช้ 20-40 และระดับดีร้อยละ 5-20 ส่วนการประเมินของกรมวิชาการ ผู้เรียนที่มีคุณภาพต้องปรับปรุงร้อยละ 10-40 ระดับพอใช้ร้อยละ 50-70 ระดับดีร้อยละ 10-20
    5.4 การประเมินระดับโรงเรียน
    จากการประเมินคุณภาพระดับโรงเรียนพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในด้านวิชาการความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน โรงเรียนส่วนใหญ่คุณภาพอยู่ระดับที่ต้องปรับปรุงร้อยละ 90.00-98.13 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และร้อยละ 91.94-99.19 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเพียงด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดี ที่มีโรงเรียนอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงและระดับพอใช้ ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 43.75, 49.38 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และร้อยละ 59.68, 36.29 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
    กล่าวโดยสรุปก็คือ การปฏิรูปการศึกษายังประสบความสำเร็จในระดับจำกัด ไม่ว่าจะในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการโดยรวม การบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา การปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้เรียน เพราะการปฏิรูปการศึกษาต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพอย่างรอบด้านและอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของผู้บริหาร ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูประบบการเรียนรู้

    ตอบลบ
  30. แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาองค์รวม
    "อังกฤษ" หนึ่งในประเทศมหาอำนาจที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยสะท้อนให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจำนวนไม่น้อยล้วนมีที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ จากแนวคิดของรัฐบาลอังกฤษ ในปี พ.ศ.2546 ที่ต้องการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น จึงทำให้ภาคเอกชนได้ก่อตั้ง TDA (Training and Development Agency for Schools) ซึ่งเป็นหน่วยงานฝึกและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา เป้าประสงค์ของหน่วยงานดังกล่าว คือ การจัดระบบการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีความเป็นธุรกิจโดยมีการวางแผนชิงกลยุทธ์ มองจุดอ่อนจุดแข็ง และมีการวางแผนว่าสถานศึกษาควรมีการพัฒนาในทิศทางใด มีการวางแผนด้านการเงิน ทั้งการตรวจสอบด้านงบประมาณ มองหาลู่ทางในการหารายได้ที่หลากหลายขึ้น นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมทางการศึกษา ด้านบุคลากรมีการจัดระบบในการคัดเลือกบุคลากร การหมุนเวียน ตลอดจนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการด้านทรัพย์สินของสถานศึกษา โดยเฉพาะด้านอาคารสถานที่ และพื้นที่โรงเรียน การนำระบบ ICT (Information and Communication Technology) มาใช้ในการจัดระบบข้อมูลของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนมีการนำหลักการตลาดมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา การสร้างภาพลักษณ์ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการสอนในภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะสายอาชีพ ควรมีการสร้างความร่วมมือ เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกประสบการณ์จริงจากองค์กรภายนอก
    การพัฒนาระบบการศึกษา สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คงหนีไม่พ้น "ครู" ซึ่งทาง TDA ได้มีการวางแผนพัฒนาให้มีการผลิต "ครูในอุดมคติ" ที่นอกจากจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กแล้ว ยังควรเป็นบุคคลที่มีความยุติธรรม มีความน่าเคารพเชื่อถือ และเป็นกำลังใจให้เด็กในการเรียนรู้ และแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิต โดยครูจะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจในการเพิ่มเติมองค์ความรู้ตลอดเวลา และประพฤติตนเป็น "ต้นแบบ" ของการคิดดี ทำดี พูดดี สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับครู คงหนีไม่พ้นการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะการรู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการสอนในรูปแบบใหม่ๆ เปิดใจให้กว้างพร้อมที่จะรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และนำคำวิจารณ์เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก
    ในส่วนของการอบรมสั่งสอนเด็กจะให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนที่อยู่แวดล้อมตัวเด็ก เพื่อให้เด็กมีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ โดยวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Learning) ถือเป็นวิธีที่สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำงานร่วมกับผู้อื่น

    ตอบลบ
  31. การสอนในลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับแนวคิดจากสหรัฐอเมริกา

    Harvard Family Research Project (HFRP) ได้ริเริ่มแนวคิดการเรียนการสอนแบบใหม่เรียกว่า "Complementary Learning" ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "เด็กและเยาวชนจะประสบความสำเร็จในชีวิตและการงานได้ต้องได้รับการสนับสนุนการเรียนรู้ (Learning Supports) จากทุกๆ สิ่งรอบตัว" จากความเชื่อนี้สถานศึกษาต้องเชื่อมโยง และทำงานให้สอดคล้องกับแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานศึกษาอื่นๆ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มิใช่มาจากโรงเรียน เช่น โปรแกรมการศึกษาปฐมวัย ครอบครัว รวมทั้งสื่อมวลชน หลักการสำคัญของ Complementary Learning คือ ทั้งโรงเรียน และแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนมีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้และความสำเร็จของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน ตลอดจนโอกาสการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ จากห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และสื่อมวลชน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างวันได้ทั้งสิ้น และสามารถนำไปสู่การพัฒนาทางการศึกษาอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
    หากการจัดหรือออกแบบโปรแกรมกิจกรรมนอกโรงเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพสูงแล้ว กิจกรรมนอกโรงเรียนต่างๆ นี้จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนได้ เนื่องจากเยาวชนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เยาวชนได้รับการดูแลไม่ให้เข้าไปมั่วสุมกับกิจกรรมที่ผิด เยาวชนได้รับการสอนสั่งทั้งในเรื่องทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง ความเชื่อและพฤติกรรม เยาวชนได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน นอกจากนั้น "โอกาสและบริบทการเรียนรู้ต้องเติมเต็มต่อกัน" ซึ่งเป็นหลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของแนวคิดดังกล่าวนั้น ซึ่งหมายถึง บริบทต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ต้องเติมเต็มต่อกันและสอดคล้องกันเพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์อันหนึ่งอันเดียวกันในตัวเด็ก ศาสตร์ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ ครุศึกษา และศาสตร์แขนงอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่า บริบทมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กและบริบทเหล่านี้ต่างมีผลซึ่งกันและกันด้วย
    ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้ของเด็กต้องไม่ดำเนินการแบบแยกส่วน แต่ต้องดำเนินการในรูปผสมผสานและบูรณาการ ซึ่งความสำเร็จในการนำแนวคิด "Complementary Learning" ไปใช้ต้องมีความมุ่งมั่น กลยุทธ์เป้าหมายการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และเป้าหมายร่วมเดียวกัน มองระบบการบริหารจัดการโรงเรียน และระบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แล้วหันมามองระบบศึกษาไทยแล้วก็คงต้องพูดตรงๆ ว่า "การศึกษาไทยยังมีช่องว่างที่ต้องเติมเต็ม" โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการอบรมสั่งสอนเยาวชนไทยในขณะนี้ที่ดูคล้ายจะเป็นการโยนภาระในการดูแลเยาวชนให้สถานศึกษาเป็นส่วนใหญ่ แม้หน้าที่อบรมสั่งสอนเด็ก และเยาวชนจะเป็นภาระหน้าที่หลักที่ครูบาอาจารย์ต้องรับผิดชอบ แต่การปลูกฝังเด็กให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้เป็นเด็กไทยที่มีศักยภาพเหมาะกับโลกยุค KM (Knowledge Management) ซึ่งเป็นยุคแห่งการจัดการองค์ความรู้ และการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากครู พ่อแม่ผู้ปกครอง สื่อมวลชน และสถาบันต่างๆ ของสังคม

    ตอบลบ
  32. จะบอกว่าเป็นหน้าที่ของ "ครู" ไม่ได้เด็ดขาด...!!~
    แต่หากทุกฝ่ายในสังคมยังละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่ร่วมมือร่วมใจกันอบรมสั่งสอน และปล่อยปละละเลยเยาวชนไทยเช่นนี้ ก็คงไม่กล้าคิดว่าในอนาคตประเทศชาติจะตกอยู่ในสภาพใด...!!
    อย่างดีที่ปี 2552 "ครูพันธุ์ใหม่" ซึ่งเป็นผลผลิตจาก "หลักสูตรครู 5 ปี" จะสำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกซึ่งก็น่าที่จะพอเป็น "ความหวังรางๆ" ให้ระบบการศึกษาไทยอยู่ได้บ้าง...
    ไม่เช่นนั้นก็ไม่รู้จะฝาก "เด็ก" ไว้กับใคร...!?
    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 5 - วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11019

    ตอบลบ
  33. การศึกษาไทยในกระแสโลกาภิวัตน์
    กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ชี้ให้เห็นแนวโน้มว่า คนไทยจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย เป็นสัญญาณเตือนว่าโลกในยุคหน้าจะมีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเกินกว่าจะคาดคิดถึง สังคมไทยจำเป็นต้องหันมาคิดทบทวนว่า เราพร้อมกับการเผชิญสิ่งที่ท้าทายเหล่านั้นหรือไม่? สภาพการณ์ที่โลกในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่พุ่งเข้าหาตัวคนไม่อยู่ ณ ที่ใด ทำให้คนต้องคิดและตัดสินใจรวดเร็วขึ้น สังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
    ในขณะเดียวกัน บทบาทของสื่อสารมวลชนก็เชื่อมโยงคนเข้าหากันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้ปัญหาของโลกเป็นปัญหาของเราด้วย คนทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ร่วมกันในเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมวลมนุษย์โดยทั่วไป สังคมไทยจำเป็นต้องหันมาคิดทบทวนว่า เราพร้อมกับการเผชิญสิ่งที่ท้าทายเหล่านั้นหรือไม่ สภาพการณ์ที่โลกในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่พุ่งเข้าหาตัวคนไม่อยู่ ณ ที่ใด ทำให้คนต้องคิดและตัดสินใจรวดเร็วขึ้น สังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน บทบาทของสื่อสารมวลชนก็เชื่อมโยงคนเข้าหากันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้ปัญหาของโลกเป็นปัญหาของเราด้วย คนทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ร่วมกันในเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมวลมนุษย์โดยทั่วไป
    สภาพการณ์เหล่านี้ คือ ปัญหาของสังคมไทยและการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ด้วย คนไทยจะมีความรู้ ความสามารถพื้นฐานเพียงพอกับการดำรงชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีในสังคมโลกได้อย่างไร จะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เลือกใช้ข้อมูลข่าวสารตัดสินใจถูกต้องในการแก้ปัญหาและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกหรือไม่ มนุษย์จะอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร โดยที่จะเกื้อกูลและไม่ทำลายซึ่งกันและกัน การศึกษาจะนำคนไปสู่ชีวิตที่มีความสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้หรือไม่ และที่สำคัญคือทุกฝ่ายทั้งประเทศและมนุษยชาติ จะเข้มแข็งพร้อมเผชิญกับความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ร่วมกันอย่างไร

    ตอบลบ
  34. ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นระบบที่เน้นการเรียนหนังสือตามช่วงอายุและระดับชั้นเป็นหลัก โดยมีโรงเรียน สถาบันการศึกษา และกระทรวงที่จัดการศึกษาเป็นแหล่งอำนาจเดียวในการแบ่งระดับชั้นดังกล่าว ยังมีการแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบที่ไม่มีการประสานสัมพันธ์กันเท่าที่ควร ทำให้การศึกษากลายเป็นกระบวนการแยกส่วนจากชีวิตประจำวัน และเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องทุกข์ทรมานกับการแก่งแย่งแข่งขัน
    ยิ่งไปกว่านั้นค่านิยมในประกาศนียบัตรหรือใบปริญญาทำให้การศึกษาไม่ได้เป็นกระบวนการที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของคนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษาในลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่อาจให้คำตอบว่า คนไทยและสังคมไทยจะก้าวผ่านจากโลกในยุคปัจจุบันเข้าสู่ศตวรรษหน้าได้อย่างไร และสามารถเจริญก้าวหน้าสร้างสรรค์การพัฒนาที่ยั่งยืนได้หรือไม่
    สิ่งที่คนไทยและสังคมไทยต้องการอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถรับมือกับโลกในอนาคตอันท้าทายได้ คือการเรียนรู้ ซึ่งหมายถึงเรียนรู้ที่จะคิด ตั้งรับ และปรับตัว รวมทั้งเรียนรู้ที่จะแสวงหาความรู้เพื่อจัดการกับปัญหาและสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าตำราจะไล่ตามทัน ตลอดจนเรียนรู้ที่จะยกระดับการพัฒนาด้านจิตใจและคุณธรรมเป็นหลัก เพื่อสร้างสมดุลกับโลกแห่งความเจริญทางวัตถุในอนาคต การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตจะช่วยให้คนและสังคมสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับเงื่อนไขและบริบทที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของคนไทยและสังคมไทย ดังนั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษาไทย คือการปฏิรูปแนวความคิดเกี่ยวกับการศึกษา โดยจะต้องมองว่าการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ช่วงชีวิตของคนแต่ละคนจะต้องสัมพันธ์กับสถาบันทางสังคมมากมาย รวมทั้งสัมพันธ์กับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมและอารยธรรมที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนในการกล่อมเกลาและมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของคน

    ตอบลบ
  35. ดังนั้น สถานศึกษาจึงไม่ใช่ที่เดียวที่เป็นแหล่งการเรียนรู้และต้องตระหนักว่ากระทรวงศึกษาธิการมิใช่ฝ่ายเดียวที่ต้องรับผิดชอบการจัดการศึกษา การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ต้องเป็นเรื่องของหลายคนหลายสถาบันที่เข้ามาร่วมกันรับผิดชอบ นับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา สถานที่ทำงาน สื่อมวลชน จนกระทั่งถึงสถาบันการเมือง การปฏิรูปแนวความคิดนี้มีความหมายสำคัญยิ่งต่อการปฏิรูปการศึกษาเพราะหมายถึงการที่ทุกฝ่ายจะต้องปฏิรูปบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งคนทุกคนให้ภาระหนี้ตกอยู่กับหน่วยงานภาครัฐฝ่ายเดียว ในขณะที่รัฐเองก็เผชิญปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้น จนไม่มีเวลาและกำลังที่จะทุ่มเทให้กับการพัฒนาคน ซึ่งเป็นการวางรากฐานระยะยาวของประเทศ ความตื่นตัวของภาคประชาชน ชุมชน องค์กรธุรกิจ และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ เป็นเงื่อนไขสำคัญของการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาหากทุกฝ่ายช่วยกันริเริ่มและลงมือปฏิบัติ แรงหนุนจากภาคประชาชน เอกชน และชุมชน จะเป็นพลังผลักดันให้ภาครัฐทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร ต้องลุกขึ้นปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่ทำอยู่เดิม ด้วยการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็น และเร่งด่วนเกินกว่าที่เราทุกคนจะทนนิ่งรอคอยเจตนารมณ์ทางการเมืองให้พร้อมสนับสนุนเสียก่อน พลังของภาคประชาชน ชุมชน และเอกชนเหล่านี้ต่างหากที่จะเป็นแรงผลักดันและเร่งรัดให้เกิดเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อปฏิรูปการศึกษา ลักษณะของระบบการศึกษาไทยที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกในศตวรรษหน้าได้นั้น จะต้องเป็นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มที่ริเริ่มสิ่งดีๆ ที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน พ่อแม่ คนทำงาน แรงงานทุกระดับ ตลอดจนชุมชนต่างๆ กลุ่มคนในแต่ละจุดเล็กๆ เหล่านี้ จะต้องเชื่อมประสานเป็นเครือข่ายสนับสนุนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งเชื่อมโยงกับสถานศึกษาที่มีอยู่ด้วย ระบบการศึกษาเพื่ออนาคตต้องไม่เป็นระบบที่รวมศูนย์ความรู้และการบริหารการจัดการ แต่เป็นระบบที่ทุกกลุ่ม ทุกจุดมีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้และเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สามารถเชื่อมต่อถึงกัน กระจายอยู่ทั่วท้องถิ่นของประเทศโดยไม่มีศูนย์กลางอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพียงที่เดียว การจัดระบบการศึกษาของประเทศดังกล่าวจึงจะสามารถทำให้ประเทศสามารถยืนอยู่บนกระแสของโลกาภิวัตน์

    ตอบลบ
  36. ปัญหาอุปสรรคของการบริหารและการจัดการศึกษา
    ในที่นี้จะกล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคของการจัดการศึกษา โดยอาศัยการสรุปและสังเคราะห์จากรายงานการประเมินผลใน 5 ด้าน คือด้านการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งโดยภาพรวมและเขตพื้นที่การศึกษา ด้านการปฏิรูปการเรียนรู้และการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน รายงานประเมินผลเหล่านี้ จัดทำโดยทีมนักวิชาการชุดต่างๆภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ผู้เขียนได้เลือกประเด็นข้อสรุปด้านปัญหาและอุปสรรคซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องตระหนักและพยายามปฏิรูปการศึกษาให้ดีขึ้น มาใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอและขยายความ ดังต่อไปนี้คือ

    ตอบลบ
  37. 1. การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปการศึกษา
    สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักเลขาธิการการศึกษาได้ทำรายงานผลการประเมินการบังคับใช้กฎหมายการศึกษาในรอบปี 254829 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการจัดประชุมสัมมนา ได้ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่ายังใช้อธิบายสภาวะการจัดการศึกษาในช่วงปี 2549 – 2550 ได้อยู่ เนื่องจากระบบการศึกษาไทยขึ้นอยู่กับระบบราชการที่ใหญ่โตเทอะทะการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นนั้นได้ช้ามาก
    1.1 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
    การจัดการศึกษาที่กฎหมายระบุว่ารัฐต้องจัดให้เปล่าอย่างมีคุณภาพ 12 ปีอย่างทั่วถึง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.9 เห็นว่ายังดำเนินการไม่ทั่วถึง ผลการดำเนินงานมีคุณภาพร้อยละ 70.5 และในเรื่องอัตรากำลังครูอาจารย์ที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลาง ตลอดจนคุณวุฒิครู พบว่าร้อยละ 92.62 เห็นว่าอัตรากำลังครูที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลางนั้นยังไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน จำนวนนักเรียนและชั้นเรียนที่ต้องรับผิดชอบ ด้านการจัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายพบว่า ร้อยละ 36.8 ของกลุ่มตัวอย่างไม่พบการเก็บค่าใช้จ่าย และร้อยละ 63.2 พบว่ามีการเก็บค่าใช้จ่าย โดยเก็บเป็นค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ค่าไฟฟ้าสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ค่าจ้างครูสอนพิเศษในวิชานอกเหนือจากหลักสูตรอื่นๆ ค่ากิจกรรมการเรียนการสอนพิเศษ ค่าอุปกรณ์กีฬา และค่าบำรุง
    1.2 สิทธิและโอกาสในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
    นโยบายการจัดการศึกษาให้แก่ผู้พิการได้ทั่วถึง พบว่าการดำเนินงานสามารถจัดได้อย่างทั่วถึงร้อยละ 65.8 ยังไม่ทั่วถึง 34.2 โรงเรียนส่วนใหญ่จัดการศึกษาให้ผู้พิการเฉพาะในระบบโรงเรียน ส่วนการจัดการศึกษาเพื่อให้เอื้อกับผู้เรียนที่ด้อยโอกาสเป็นพิเศษ ยังมีการดำเนินการน้อยมาก

    1.3 การศึกษาภาคบังคับ
    การแจ้งให้ผู้ปกครองให้ได้ทราบล่วงหน้าก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี พบว่ามีการดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 75.4 และไม่ได้แจ้ง 24.6 สาเหตุเนื่องจากการกำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบระหว่างสำนักงานพื้นที่การศึกษากับองค์กรปกครองท้องถิ่นเฉพาะโรงเรียนใหญ่ๆ ในพื้นที่เขตเมืองยังไม่ชัดเจน และเห็นว่าการแจ้งและไม่แจ้งมีผลไม่ต่างกัน การแจ้งเป็นภาระของเขตพื้นที่การศึกษา

    ตอบลบ
  38. 1.4 การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
    กลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่าสถานศึกษามีการจัดการการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุดมีร้อยละ 61.3 และร้อยละ 40.17 มีความเห็นว่าสถานศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่ยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยสรุปผลการดำเนินงานในหมวดซึ่งกำหนดให้มีการเรียนการสอนต้องยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ทั้งทางด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริม สนับสนุนสื่อเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับในเขตพื้นที่การศึกษา ยังดำเนินการอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 เท่านั้น
    1.5 บทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพื้นที่การศึกษา
    มีผู้เห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่กำหนดใน กฎกระทรวงนี้เหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 70.5 และยังไม่เหมาะสมร้อยละ 29.5 อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เห็นว่าควรสรรหาให้ได้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มวิชาชีพอย่างแท้จริง และการเลือกประธานกรรมการ ควรให้กรรมการเลือกกันเอง คณะกรรมการพื้นที่การศึกษาที่ได้มักไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะบทบาทในการพัฒนาการศึกษา และมักสรรหาได้จากกลุ่มข้าราชการด้วยกันเอง ผู้แทนกลุ่มต่างๆ มักมีลักษณะกระจุกไม่กระจาย ควรให้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ชัดเจน ขั้นตอนและวิธีการสรรหาควรโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก
    1.6 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา
    ร้อยละ 66.3 เห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษาเหมาะสมดีแล้ว อย่างไรก็ตามการสรรหากรรมการสถานศึกษามักจะได้กรรมการที่ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการศึกษา และไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา หลายโรงเรียนสรรหาคณะกรรมการโดยการเชิญบุคคลมาสมัครเนื่องจากผู้แทนตามกฎหมายนั้นหายาก กรรมการบางโรงเรียนมีภารกิจส่วนตัวมากไม่มีเวลาให้กับการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน การกำหนดคุณสมบัติกรรมการแบบเฉพาะเจาะจงเกินไปทำให้สรรหาได้ยาก เสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาโดยให้โรงเรียนมีส่วนร่วม และควรให้มีการฝึกอบรมกรรมการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ให้เห็นความสำคัญและสามารถสละเวลามาปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มที่ ควรจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครู/อาจารย์ในสถานศึกษา นอกจากนี้ กรรมการสถานศึกษา ควรได้รับการสนับสนุนค่าตอบแทนตามสมควร
    1.7 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว
    การดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ
    1.8 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถานประกอบการ
    การดำเนินงานในเรื่องสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถานประกอบการ เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการได้ระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ มีความพร้อมในด้านการอำนวยความสะดวกในระดับ 66.9 มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการอยู่ในระดับร้อยละ 60.4 ในขณะที่พนักงาน/ลูกจ้าง ของสถานประกอบการมีความต้องการให้สถานประกอบการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ในระดับร้อยละ47.60 และเห็นว่าสถานประกอบการมีความพร้อมในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับร้อยละ 23.80 เท่านั้น

    ตอบลบ
  39. 2. การประเมินด้านการบริหารการจัดการศึกษา
    ปัญหาที่ยังคงอยู่คือ
    1) ยังไม่มีการตระหนักถึงความสำคัญการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กอย่างมีคุณภาพ ทั้งที่การศึกษาวัยนี้สำคัญที่สุด เพราะสมองของเด็กเล็กพัฒนามากที่สุด และเป็นการวางรากฐานที่จะช่วยให้เด็กในช่วงอายุต่อๆไปเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในช่วงปี 2549-2550 แม้จะสามารถจัดได้เป็นสัดส่วนต่อประชากรในวัยเดียวกันสูงขึ้นกว่าปี 2547 - 2548 แต่ก็มีปัญหาเรื่องครู/พี่เลี้ยงที่สอนระดับปฐมวัยส่วนใหญ่มักใช้ครูอัตราจ้างที่มีคุณวุฒิต่ำ ไม่ได้จบการศึกษาและหรือได้รับการฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยมา รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษามักไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาก่อนประถมศึกษาเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้ว่าหลายแห่ง จัดครูที่มีคุณภาพต่ำสุดเท่าที่มีอยู่ เช่น สุขภาพไม่ดี สูงอายุ เบี่ยงเบนทางเพศ ครูอัตราจ้าง มาสอนเด็กอนุบาล เพราะครูประจำการไม่ชอบสอน เนื่องจากงานดูแลเด็กเล็กเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความเอาใจใส่มาก และเพราะผู้บริหารครูส่วนหนึ่งคิดเอาง่ายๆว่าเด็กเล็กยังโง่อยู่ ให้ใครมาสอนก็ได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด และการใช้ครูที่มีความรู้และวุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ จะมีผลกระทบต่อการวางรากฐานไปตลอดชีวิต
    2) เด็กในวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ยังไม่สามารถเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับได้ครบทุกคน ซึ่งสาเหตุแรกเนื่องจากผู้ปกครองบางคนละเลยไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน และไม่มีการติดตามว่าเป็นเรื่องที่ทำผิดกฎหมายที่ว่าพ่อแม่ต้องส่งเด็กทุกคนให้เรียนการศึกษาภาคบังคับในฐานะพลเมืองของรัฐ สาเหตุต่อมาคือเกิดจากการออกกลางคันของเด็ก เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ การย้ายตามครอบครัวไปประกอบอาชีพอื่นๆแล้วไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ ระบบการส่งต่อเด็กระหว่างโรงเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีระเบียบการรับนักเรียนที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนยังไม่ตอบสนองความต้องการของเด็กด้อยโอกาสและยากจน มีปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ไม่ได้เข้าเรียน ฯลฯ นอกจากกลุ่มเด็กวัยที่ควรได้เรียนภาคบังคับจะไม่ได้เรียนจำนวนมากพอสมควรแล้ว เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ไม่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือออกกลางคันก็ยังมีสัดส่วนสูงด้วยเช่นกัน

    ตอบลบ
  40. 3) ผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายยังนิยมเรียนประเภทสามัญศึกษามากกว่าสายอาชีวศึกษาส่งผลให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มได้ไม่มาก ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานระดับกลางเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
    4) ปัญหาสถานศึกษาอาชีวะส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ไม่กระจายตัวไปในชนบท ทำให้เด็กในชนบทไม่สามารถเรียนได้ เนื่องจากการเดินทางเข้ามาเรียนในตัวเมืองทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งสถานศึกษาอาชีวะเองก็ยังมีปัญหาภาพพจน์ว่า เด็กเกเร ชอบตีกัน ไม่ค่อยมีคุณภาพทำให้ผู้ปกครองที่มีค่านิยมอยากให้ลูกทำงานนั่งโต๊ะมากกว่างานช่างหรืองานแรงงานอยู่แล้วไม่นิยมส่งลูกเข้าเรียนในอาชีวศึกษา ทั้งหมดนี้ทำจำนวนและสัดส่วนของผู้เรียนอาชีวะเพิ่มได้น้อย
    5) การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งเด็กมีปัญหา เด็กปัญญาเลิศ ยังดำเนินการได้ไม่มากเท่าที่ควร ถึงแม้ว่ารัฐจะเขียนไว้ในนโยบายว่าให้ความสำคัญมากขึ้นก็ตาม เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่มีองค์ความรู้และงบประมาณพอเพียง ไม่มีการสำรวจจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างแท้จริง ขาดองค์ความรู้ในการจัดการ ขาดเครื่องมือในการคัดกรอง ขาดบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการสอน และการประสานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน
    6) การจัดทำกฎหมายเพื่อให้บุคคลและสถาบันทางสังคมต่างๆมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ยังดำเนินการล่าช้า ไม่มีการรณรงค์เรื่องความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาให้คนภายนอกสนใจ ทำให้การมีส่วนร่วมของบุคคลและสถาบันเหล่านี้ยังมีน้อย ทั้งเมื่อมีบุคคลภายนอกมาขออนุญาตจัดตั้งศูนย์การเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการจัดการศึกษาและการจัดทำแผนการจัดการศึกษาโดยบุคคลภายนอก ทำให้การดำเนินการล่าช้า
    7) การขยายการรับนักเรียนนักศึกษาระดับและสาขาต่างๆเป็นไปตามความประสงค์และความพร้อมของสถานศึกษาต่างๆ เช่น โรงเรียนประถมศึกษาอยากขยายโอกาสในการรับนักเรียนชั้นประถมปลายเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมต้น สถาบันอาชีวะอยากขยายเป็นปวส.และปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษามีครูอาจารย์ด้านไหนมากหรือคิดว่าสาขาไหนมีคนนิยมเรียนมาก ก็จะขยายสาขานั้นๆ ไม่ได้มีการประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อที่สถาบันแต่ละแห่งจะผลิตด้านที่ตนชำนาญให้มีคุณภาพมากกว่าจะเน้นปริมาณ สถาบันการศึกษาของรัฐไม่ควรขยายตัวทางปริมาณมากไป น่าจะเปิดทางให้สถาบันเอกชนบ้าง รวมทั้งควรมีการพิจารณาในระดับประเทศว่าควรขยายการรับนักเรียนนักศึกษาด้านที่ยังขาดแคลนด้านไหนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ยังขาดความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา สถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ในทุกระดับการศึกษา

    ตอบลบ
  41. 9) ยังขาดการปรับระบบการบริหารจัดการอาชีวะศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
    10) การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขาดการจัดระบบและจัดหมวดหมู่แหล่งเรียนรู้ และหน่วยงานที่ดำเนินการมีลักษณะต่างหน่วยงานต่างทำ ห้องสมุดในสถานศึกษาในระบบและสถาบันต่างๆยังไม่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปเข้ารับการบริการอย่างกว้างขวาง
    11) สถานศึกษาในระบบยังไม่ได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจที่เพียงพอจากรัฐในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้บริหารและครูคิดอยู่ในกรอบการทำงานตามภาระหน้าที่ขั้นต่ำในระบบ มากกว่าจะคิดถึงเป้าหมายในวงกว้างว่าสถานศึกษาที่ดีอยู่แล้วอาจช่วยให้บริการประชาชนมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้นได้ เหตุผลหนึ่งคือภาระงานการศึกษาในระบบก็มีมากอยู่แล้ว แต่เหตุผลใหญ่คือผู้บริหารและครูคิดในกรอบข้าราชการมากกว่าคิดในแง่นักพัฒนา/นักปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนทั้งหมด
    12) การกำหนดกฎเกณฑ์ การดำเนินงานเทียบผลการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีประสบการณ์เรียนนอกระบบ ตามอัธยาศัย หรือย้ายมาจากที่อื่น เป็นไปค่อนข้างล่าช้า เพราะเป็นเรื่องใหม่และนักบริหารครูอาจารย์คิดอยู่ในกรอบเก่ามากเกินไป สถาบันบางแห่งรวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาไม่ประสงค์จะรับเทียบโอนให้ผู้เรียนที่มีประสบการณ์หรือย้ายมาจากที่อื่น เพราะต้องการให้ตั้งต้นลงทะเบียนเรียนใหม่ที่สถาบันของตนเอง ทำให้การจัดการศึกษาไม่คล่องตัวยืดหยุ่นในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

    ตอบลบ
  42. 3. ปัญหาด้านการบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา
    แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาด้านบริหารจัดการแนวคิดหนึ่งที่ได้นำไปใช้แล้วคือ เปลี่ยนจากการบริหารแบบกระจายงานไปสู่สำนักงานประจำจังหวัดและอำเภอ (โดยแยกเป็นหน่วยที่ดูแลประถมและหน่วยที่ดูแลมัธยม) เป็นเขตการศึกษา 175 เขตที่ดูแลทั้งประถมมัธยมและการศึกษาอื่นๆแทน การเปลี่ยนแปลงแนวทางการบริหารดังกล่าว มีผลดีผลเสียอย่างไร น่าจะพิจารณาได้จาก การติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่มี 175 แห่งทั่วประเทศเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2548 ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ทำไว้ ดังต่อไปนี้ สำนักงาน สพท. ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการและช่วยเหลือให้บริการสถานศึกษาได้ในระดับที่พึงพอใจมี 81 เขต มีความพร้อมพอสมควร 64 เขต ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 28 เขต และต้องมีการเปลี่ยนแปลง 2 เขต

    ตอบลบ
  43. ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารแบบเขตพื้นที่การศึกษาที่สำคัญคือ
    11. จำนวนบุคลากรในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) มีความแตกต่างกันมาก ทั้งที่ภารกิจเหมือนกัน บุคลากรจะนิยมไปอยู่ที่ สพท.เขต 1 ในตัวจังหวัด ทำให้เขต 1 มักมีบุคลากรเกินกรอบอัตราที่กำหนด ส่วนเขตอื่นๆจะมีจำนวนบุคลากรน้อย ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนศึกษานิเทศก์ที่สามารถนิเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาได้ ทำให้สพท.เขตอื่นๆ นอกจากเขต 1 ดำเนินงานตามภารกิจได้ไม่สมบูรณ์
    12. ข้าราชการ กพ. ใน สพท. ขาดโอกาสในทุกเรื่อง และไม่ได้รับการพัฒนา ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
    13. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 175 แห่ง มีบริบทที่ต่างกัน บางเขตมีโรงเรียนที่ต้องดูแลมาก ทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากสำนักงานเขต ทำให้การประสานงานและการติดต่อสื่อสารล่าช้า ผู้บริหารและครูต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก (ปัญหานี้ได้มีผู้เสนอให้เพิ่มเขตพื้นที่การศึกษาเป็น 295 เขต)
    14. การแบ่งบทบาทอำนาจหน้าที่ระหว่างสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางยังขาดความชัดเจน โดยยังคงมีการบังคับบัญชาจากส่วนกลาง มีการสั่งการมาก ซึ่งขัดกับหลักการกระจายอำนาจ และหนังสือสั่งการส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือด่วนที่สุดจากส่วนกลางให้ สพท.ส่งต่อ ไปให้โรงเรียน โดยที่ทั้ง สพท.และโรงเรียนไม่มีโอกาสบริหารจัดการเอง
    15. การยุบเลิกหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับจังหวัดและอำเภอและจัดตั้งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การเชื่อมโยงประสานงานกับหน่วยงานอื่นในระดับจังหวัดและอำเภอในการนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติค่อนข้างมีปัญหา
    16. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่ใช่เขต 1 ที่อยู่นอกตัวจังหวัดมักไม่มีความพร้อมทั้งในเรื่องอาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และบุคลากร โดย เฉพาะในจังหวัดที่มี 3 เขตขึ้นไป ทำให้สำนักงานเขตนอกตัวจังหวัดปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถให้บริการแก่สถานศึกษาและครูในพื้นที่อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
    17. วัฒนธรรมองค์กรเดิมซึ่งบุคลากรส่วนหนึ่งที่เคยอยู่กับกรมสามัญศึกษาและส่วนหนึ่งเคยอยู่สำนักงานประถมศึกษายังผูกติดกับผู้บริหาร สพท. ทำให้วัฒนธรรมองค์กรของแต่ละ สพท. ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (เนื่องจากบุคลากรจากสำนักประถมมีมากกว่า จึงมักได้ตำแหน่งบริหารและทำให้บุลากรจากกรมสามัญศึกษาอึดอัดและเรียกร้องให้มีการเพิ่มเขตเพื่อดูและมัธยมศึกษาโดยตรง)
    18. กรรมการเขตพื้นที่การศึกษาไม่มีบทบาท เนื่องจากมีการประชุมน้อยมาก ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้กำหนดการประชุม บางแห่งประธานกรรมการเขตพื้นที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จึงเกิดปัญหาในทางปฏิบัติงาน คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษามีบทบาทเป็นเสมือนที่ปรึกษาเท่านั้น การตัดสินใจอยู่ที่ผู้บริหาร คณะกรรมการบางท่านยังไม่เข้าในบทบาทของตนเอง ขาดความพร้อมและศักยภาพ
    19. กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ออกมาล่าช้า ระเบียบการปฏิบัติต่างๆ ก็ไม่ชัดเจน ทำให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินงานตามภารกิจได้ไม่สมบูรณ์ เช่น เรื่องการสนับสนุนส่งเสริมสถานศึกษารูปแบบต่างๆ
    20. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่าการกระจายอำนาจให้สถานศึกษานั้นไม่ได้กระจายอำนาจอย่างแท้จริง สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเรื่องวิชาการและบริหารทั่วไปเท่านั้น ส่วนเรื่องงบประมาณและการบริหารงานบุคลากรสถานศึกษาไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง การสรรหา การคัดเลือก การพิจารณาความดีความชอบบุคลากร การลงโทษข้าราชการที่มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ยังขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการเสนอความต้องการหรือความเห็นขึ้นไป ส่วนการโอนโยกย้ายบุคลากรภายในเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งอยู่ในส่วนกลาง ทำให้บ่อยครั้งโรงเรียนไม่ได้บุคลากรตรงกับความต้องการของโรงเรียน

    ตอบลบ
  44. • ด้านงบประมาณ ถึงจะมีกฎหมายเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในการแสวงหารายได้เพื่อนำมาใช้จัดการศึกษาได้เอง และสถานศึกษามีอำนาจในการปกครองดูแล บำรุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา แต่เนื่องจากสถานศึกษายังเป็นหน่วยงานราชการ จึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการคลัง รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่นเดียวกับหน่วยงานทางราชการอื่นๆ ทำให้ไม่มีความคล่องตัวในทางปฏิบัติ รวมทั้งผู้อำนวยการรู้สึกยุ่งยากและเสี่ยงที่จะดำเนินการแบบใหม่ที่ต่างไปจากแบบเดิม
    • สถานศึกษา โดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็ก ขาดความพร้อมที่จะบริหารการเงินและบุคลากรได้ด้วยตนเอง เนื่องจากบุคลากรมีน้อย และมีความรู้ความเข้าใจยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆทั้งด้านการเงิน การพัสดุ การบัญชี และการดำเนินการทางกฎหมาย รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาเองถึงแม้จะได้รับการถ่ายทอดความรู้มาบ้าง แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ทราบว่ามีอำนาจบริหารจัดการในเรื่องต่างๆได้มากน้อยเพียงใด

    ตอบลบ
  45. 4. การประเมินด้านการปฏิรูปการเรียนรู้
    การปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษามีเป้าหมายจะให้ผู้บริหาร ครูอาจารย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพขึ้น ดังนั้นการประเมินด้านกระบวนการเรียนรู้และผลกระทบต่อผู้เรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญ การติดตามประเมินผลด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ32 ได้ข้อสรุปที่น่านำมาอธิบายขยายความต่อคือ
    4.1หลักสูตร
    หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 ที่ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาและจัดทำหลักสูตรโดยสถานศึกษา มีปัญหาด้านครูไม่มั่นใจวิธีการการจัดทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ครูไม่เคยดำเนินการมาก่อน ประกอบกับวิทยากรที่ไปให้ความรู้แก่ครูมีหลากหลายแนวคิด ทำให้ครูเกิดความสับสนในการดำเนินการ การจัดทำสื่อการสอน เนื้อหาในกลุ่มสาระที่มีมากเกินไป ควรมีการดำเนินการแก้ไขให้มีพี่เลี้ยงที่มีความชำนาญและมีความเข้าใจกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริง เป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเพื่อให้ครูสามารถดำเนินการได้ และอาจระดมกำลังเพื่อร่วมกันทำหลักสูตรท้องถิ่นกันในระดับจังหวัด และภูมิภาค ไม่ใช่ให้แต่ละสถานศึกษาทำหลักสูตรเอง ซึ่งมักใช้วิธีลอกเลียนกัน
    4.2 การจัดการเรียนการสอน
    ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาการขาดแคลนครู โรงเรียนมีครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ สาขาที่ขาดแคลนได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ หน่วยงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการเกลี่ยครูจากโรงเรียนที่มีครูเกินไปช่วยสอน และอนุมัติให้จ้างครูช่วยสอน หรือขอความช่วยเหลือจากสถาบันอุดมศึกษาให้นักศึกษามาช่วยสอน โดยมีการเทียบโอนหน่วยกิตการเรียนได้ ส่วนในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษา ยังขาดการเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เป็นปัญหาในด้านความร่วมมือของสถานประกอบการ ซึ่งต้องเร่งขอความช่วยเหลือกันต่อไป ควรมีโครงการที่มีการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้ให้มีการประสานความช่วยเหลือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ในลักษณะของการส่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ครูในโรงเรียนอย่างทั่วถึง เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กดำเนินงานปฏิรูปการเรียนรู้ได้น้อยกว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ อันเนื่องจากข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง และสถานที่ตั้งห่างไกล

    ตอบลบ
  46. 4.3 การวัดประเมินผลผู้เรียนและรับเข้าเรียนต่อ
    ปัญหาที่พบในทุกระดับและประเภทการศึกษา คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการวัดประเมินผลผู้เรียนควรได้รับประเมินผลในหลายด้าน เช่น ความประพฤติ การทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการทดสอบความรู้ ซึ่งครูส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการประเมินผลแบบใหม่ไปแล้ว แต่ยังมีปัญหาในการนำไปปฏิบัติ ดังนั้น คงต้องสนับสนุนส่งเสริมครูในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควรมีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ นอกจากนี้ควรมีการทบทวนแบบฟอร์มต่างๆที่กำหนดให้สถานศึกษาจัดทำรายละเอียดเพื่อเป็นเอกสารแสดงผลการเรียนของนักเรียนซึ่งมีมากเกินไป การส่งเสริมการประเมินผลผู้เรียนแบบใหม่ต้องทำควบคู่ไปกับการการประเมินผลเพื่อรับผู้เรียนไปเรียนต่อในระดับสูงขึ้น โดยควรพิจารณาจากการประเมินผลหลายด้านมากกว่าการวัดโดยคะแนนการสอบ ให้สอดคล้องกันกับการประเมินผลแนวใหม่
    4.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT เพื่อการเรียนรู้
    นักเรียนในระดับประถมศึกษายังได้รับการพัฒนาด้านการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่านักเรียนในระดับมัธยมและอุดมศึกษามาก จึงควรมีเร่งดำเนินการเพื่อให้นักเรียนประถมศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลได้รับโอกาสในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เช่นเดียวกับนักเรียนในเมืองด้วย
    4.5 การพัฒนาครูคณาจารย์ มีปัญหาทางด้านงบประมาณการสนับสนุนครู และการขาดการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูทั้งในทางวิชาการและจิตวิทยาการสอน การขาดงบประมาณสำหรับส่งเสริมให้ครูได้ทำงานวิจัย และขาดการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ครูอาจารย์มีโอกาสขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ ควรเร่งพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ว่าครูจะได้รับการอบรมบ่อยครั้ง แต่ครูจำนวนหนึ่งก็ยังปฏิบัติไม่ได้ และบางส่วนยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ควรส่งเสริมและพัฒนาครูประจำการให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ รวมถึงวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพทดแทนครูเก่า ซึ่งที่ผ่านมาถึงจะมีโครงการโดยเฉพาะก็ยังผลิตครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ได้น้อยมาก
    4.6 การขาดแคลนครูอาจารย์ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาการขาดแคลนครูค่อนข้างมากทั้งที่ขาดอยู่แล้วและมีผู้เกษียณโดยทางราชการตัดอัตราการให้บรรจุข้าราชการใหม่และลูกจ้างทำให้มีครูใหม่มาทดแทนไม่เพียงพอ ส่วนในระดับอุดมศึกษา มีคณาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ รวมทั้งที่มีวุฒิปริญญาเอกเกษียณอายุเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทุนการศึกษาต่อในระดับสูงมีค่อนข้างน้อย ดังนั้น จึงควรมีมาตรการทดแทนอัตรากำลังที่ขาดแคลนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การจ้างครูอัตราจ้างในระยะสั้น ส่วนในระยะยาว ควรมีอัตรารองรับครูอาจารย์ในสาขาที่ขาดแคลน รวมทั้งมีการบรรจุครูอาจารย์ ทดแทนอัตราที่เกษียณหรือลาออกในแต่ละปีเป็นกรณีต่างหากจากระบบราชการโดยรวม ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายมุ่งลดอัตรากำลังข้าราชการทั้งประเทศลง เพราะงานการศึกษาเป็นงานที่ต้องใช้บุคลากรโดยตรงและปัญหาครูอาจารย์ขาดแคลนเป็นปัญหาจริง ที่มีผลเสียหายร้ายแรงอย่างเห็นได้ชัดกว่างานราชการในกระทรวงอื่นๆที่อาจปรับตัวได้ดี

    ตอบลบ
  47. 5. การประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน
    สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ได้ทำรายงานการประเมินการปฏิรูปการเรียนรู้ดับขั้นพื้นฐาน ผลลัพธ์ผู้เรียน 33ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นที่ว่าสนใจนำมาสรุปไว้ในที่นี้เพื่อประโยชน์ของการเรียนรู้ร่วมกันดังต่อไปนี้
    5.1 ด้านความรู้ด้านวิชาการ 5 วิชา
    จากการวัดความรู้ของผู้เรียนในด้านวิชาการ 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ พบว่า ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษของผู้เรียนอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ30.51 และร้อยละ38.42 ตามลำดับ) วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.09 และร้อยละ 47.53 ตามลำดับ) วิชาสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.23) ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าความสามารถของผู้เรียนในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 30.17, 19.02และ 30.55 ตามลำดับ) วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 58.23)
    5.2 การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 4 ด้าน
    จากการวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ วิชาการ ทักษะความคิด ทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน และคุณลักษณะการเป็นพลเมืองที่ดี พบว่าผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 คุณลักษณะเกือบทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 44.36 42.66 และ 49.67 ตามลำดับ) ยกเว้นด้านคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี ที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.75) สำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้วิชาการอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 39.14) ด้านทักษะการคิดและด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.82 และ 47.66 ตามลำดับ) ในด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.02)
    5.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามวิชา พบว่า ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.66-66.10) มีคุณภาพพอใช้ทุกรายวิชา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษมีผู้เรียนที่ต้องปรับปรุงเป็นจำนวนมาก (33.02, 38.30 และ 34.44 ตามลำดับ) ผลการประเมินในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 61.41-82.37) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน ส่วนผลการประเมินอยู่ในระดับดีมีเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ5.28-26.47) โดยด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีมีมากที่สุด (ร้อยละ 26.47) อยู่ในระดับต่ำที่สุดคือด้านทักษะความคิด (ร้อยละ 5.28) และพบว่าผู้เรียนที่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ต้องปรับปรุงอย่างมาก (ร้อยละ 24.95) ในด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน สำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.58 -62.11) ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ส่วนวิชาภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ผู้เรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.68, 76.63) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ การประเมินในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่(ร้อยละ 51.30-69.85) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ ทุกด้าน และอยู่ในระดับที่ดีมาก (ร้อยละ 46.02) ในด้านทักษะการคิด ส่วนด้านที่ต้องปรับปรุงที่มีสัดส่วนสูงคือด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน (ร้อยละ 29.43) ผลการประเมินงานวิจัยโดยรวม ผู้เรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงถึงร้อยละ 40-60 ระดับพอใช้ 20-40 และระดับดีร้อยละ 5-20 ส่วนการประเมินของกรมวิชาการ ผู้เรียนที่มีคุณภาพต้องปรับปรุงร้อยละ 10-40 ระดับพอใช้ร้อยละ 50-70 ระดับดีร้อยละ 10-20

    ตอบลบ
  48. 5.4 การประเมินระดับโรงเรียน
    จากการประเมินคุณภาพระดับโรงเรียนพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในด้านวิชาการความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน โรงเรียนส่วนใหญ่คุณภาพอยู่ระดับที่ต้องปรับปรุงร้อยละ 90.00-98.13 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และร้อยละ 91.94-99.19 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเพียงด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดี ที่มีโรงเรียนอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงและระดับพอใช้ ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 43.75, 49.38 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และร้อยละ 59.68, 36.29 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
    กล่าวโดยสรุปก็คือ การปฏิรูปการศึกษายังประสบความสำเร็จในระดับจำกัด ไม่ว่าจะในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการโดยรวม การบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา การปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้เรียน เพราะการปฏิรูปการศึกษาต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพอย่างรอบด้านและอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของผู้บริหาร ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูประบบการเรียนรู้

    ตอบลบ
  49. บทที่ 1
    บทนำ

    ความเป็นมาและสภาพของปัญหา เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุดในโลกการฝึกการเตรียมคน เพื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กองวิจัยการศึกษา, 2542 : 1) ซึ่งในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอน เราเน้นถึงว่าทำอย่างไร ทุกชีวิตจึงจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด เมื่อเขาเหล่านั้นสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องก็เท่ากับสามารถจัดการศึกษาให้กับเขาได้ถูกต้อง เหมือนกับเราให้ชีวิตกับพวกเขาได้อยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข ทำให้เขาได้รู้จักวิธีการพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องคอยรับการช่วยเหลือจากผู้อื่นอีกต่อไป จึงจะพัฒนาคนให้เป็นกำลังของประเทศชาติได้ในอนาคตการศึกษาปฐมวัยเน้นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สมองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็ก พัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
    ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมแก่นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา ดังจะเห็นได้จากสำนักงานคณะ-กรรมการการประถม ศึกษาแห่งชาติ (2540: 20) ได้อ้างอิงสาระของแผนพัฒนาการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ระยะที่ 8 (2540 –2544) ของกระทรวงศึกษาธิการไว้ในนโยบายของรัฐที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาระดับนี้ว่า เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ให้เป็นกลไกในการสร้างคนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่อย่างไทยในสังคมโลกอย่างเป็นสุข รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติให้ก้าวหน้า มั่นคง สมดุลและยั่งยืน โดยเร่งรัดการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ดังจะเห็นได้จากเป้าหมายที่ระบุไว้ว่า เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 2 ปี ก่อนเข้าเรียนระดับประถม ศึกษาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญา (สำนักงานคณะกรรมการการประถม ศึกษาแห่งชาติ. 2540 : 20 ; อ้างอิงสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระยะที่ 8 (2540 - 2544) นอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา โดยสนับสนุนให้โรงเรียนร่วมกับชุมชนจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในพื้นที่มีปัญหาทางภาษา ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในพื้นที่ชนบทยากจน อีกทั้งให้ความสำคัญในการ จัดการศึกษา ในท้องถิ่นที่มีปัญหาทางภาษาเป็นอันดับแรก ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จึงต้องจัดลำดับของกลุ่มเด็กที่จะเข้ารับบริการการศึกษา ลำดับแรกคือกลุ่มเด็กที่พูดภาษาอื่นมากกว่าภาษาไทย กลุ่มเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและกลุ่มเด็กในชนบททั่วไป (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2532 : บทนำ)
    เด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นวันที่ร่างกายและสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กต้องการความรักความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จกการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้สำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือกตัดสินใจ ใช้ภาษาสื่อสาร คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ผู้ที่รับผิดชอบจึงมีหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมให้เด็กสังเกต สำรวจ สร้างสรรค์และยิ่งเด็กมี่ความกระตือรือร้น ยิ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบจึงต้องส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรักความเข้าใจ ความเอาใจใส่เด็กวัยนี้เป็นพิเศษ เพราะจะเป็นพื้นฐานที่จะช่วย เตรียมความพร้อมให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนและในชีวิตเด็กต่อไป (กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นพื้นฐาน. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 : ความนำ)

    ตอบลบ
  50. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  51. กอปรกับโลกยุคปัจจุบันชีวิตของคนเราต้องเกี่ยวข้องตัวเลข จำเป็นอย่างยิ่ง ที่หลักสูตรการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับจำนวนตัวเลข ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น มีทักษะในการคิดคำนวณเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และความอยู่รอดในการครองชีพ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์มาก การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลขต้องเริ่มมาจาก ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่เคยสอนระดับอนุบาลเป็นเวลาของผู้วิจัย ได้เห็นว่าผู้เรียนในระดับช่วงชั้นนี้มีปัญหาในด้านการเรียนวิชานี้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งสถานศึกษาขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนในบางช่วงชั้นไม่ได้รับการฝึกทักษะหรือปูพื้นฐานมาก่อน การจัดกระบวนการเรียนการสอนในวิชานี้ไม่เป็นไปตามขั้นตอนขาดความต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในวิชานี้ ในปีการศึกษา 2548 ภาคเรียนที่ 1 จากการทดสอบความรู้พื้นฐานโดยใช้ข้อสอบที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี ได้ค้นพบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไพรษรสำโรง (ราษฎรบำรุง) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1 มีนักเรียนจำนวน 10 คน จากการทดสอบเรื่องการรู้จักค่าจำนวน 1 – 10 โดยใช้ข้อสอบที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นมีนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คะแนนเฉลี่ยทั้งห้องร้อยละ 57.39 ซึ่งเป็นผลที่ไม่น่าพอใจนักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก ซึ่งผลที่ตามมาก็คือนักเรียนไม่สามารถบอกค่าจำนวน 1 – 10 ได้ และนักเรียนมีความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่เหมาะสมกับระดับชั้น ผู้เรียนอาจมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นซึ่งเป็นการล้มเหลวในกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เพราะวิชาคณิตศาสตร์ถือว่าเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเราจำเป็นต้องฝึกฝนปูพื้นมาตั้งแต่เริ่มเรียน
    ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีพยายามมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการรู้จักค่าจำนวน 1 – 10 เพื่อปูพื้นฐานการบวกลบให้กับผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการบอกค่าของตัวเลขของนักเรียนให้เหมาะสมกับระดับชั้นอนุบาล ของนักเรียนทั้ง 10 คน เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เน้นให้เห็นความสำคัญของวิชานี้ และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียนเพื่อใช้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  52. วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า
    1. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาแก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
    2. เพื่อพัฒนาความสามารถในการบอกค่าจำนวน 1–10 ของผู้เรียน
    3. เพื่อใช้เป็นสื่อเผยแพร่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2
    ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
    ในการพัฒนาการเรียนการสอน ได้กำหนดขอบเขตในการพัฒนาไว้ ดังนี้
    1. จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
    2. การพัฒนากิจกรรมเสริมประสบการณ์ ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์และนวัตกรรมต่าง ๆ
    3. การทำแผนการจัดประสบการณ์ และนวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอนที่ผ่านมาการแก้ไขปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ แล้วนำไปใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้าน ไพรษรสำโรง (ราษฎรบำรุง) ในปีการศึกษา 2549
    กำหนดการในการพัฒนาการเรียนการสอน
    กำหนดการในการพัฒนาการเรียนการสอน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้กำหนดไว้ ดังนี้
    1) การเสนอโครงการ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549
    2) การศึกษาหลักการและแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนและการเลือกนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนา วันที่ 3 - 15 เมษายน พ.ศ. 2549
    3) การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ วันที่ 16 - 30 เมษายน พ.ศ. 2549
    4) การนำแผนการจัดประสบการณ์และนวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอนไปใช้ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550
    5) การสรุปผลและจัดทำรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอน

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    1. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 สามารบอกค่าจำนวน 1 – 10 ได้ดีขึ้นหลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
    2. ใช้แบบฝึกเสริมพื้นฐานคณิตศาสตร์ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบฝึกเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ได้เผยแพร่ไปยังครูผู้สอนโรงเรียนอื่น
    3. นักเรียนชั้นอนุบาล มีระดับความรู้เหมาะสมกับระดับชั้น

    คำนิยามศัพท์เฉพาะ
    1. แผนการจัดประสบการณ์ หมายถึง แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามคุณลักษณะตามวัยของเด็กทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จำนวน 2 ภาคเรียน
    2. นักเรียน หมายถึง นักเรียนชาย – หญิง ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไพรษรสำโรง (ราษฎรบำรุง) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 10 คน
    3. สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สื่อที่ผู้สอนจัดทำ ผลิต หรือจัดหามาเพื่อ มุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ตอบลบ
  53. บทที่ 2
    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    ในการรายงานการพัฒนา และการใช้แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
    - ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
    - หลักการ
    - จุดมุ่งหมาย
    - วิสัยทัศน์
    - ภารกิจ
    - เป้าหมาย
    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์
    - หลักการจัดประสบการณ์
    - แนวการจัดประสบการณ์
    - การจัดกิจกรรมประจำวัน
    - กิจกรรมเสรี/การเล่นตามมุม
    - กิจกรรมสร้างสรรค์
    - กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
    - กิจกรรมเสริมประสบการณ์ / กิจกรรมในวงกลม
    - กิจกรรมกลางแจ้ง
    - เกมการศึกษา



    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

    ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
    การศึกษาปฐมวัยเน้นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรม เลี้ยงดู และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สมองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็ก พัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
    หลักการ
    เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจน การเรียนรู้อย่างเหมาะสมด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเอง ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
    1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
    2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
    3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
    4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
    5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

    จุดหมาย
    หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่
    พึงประสงค์ ดังนี้
    1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
    2. กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
    3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
    4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
    5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
    6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
    7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
    8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
    10. มีความสามารถในการคิด และการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
    11. มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
    12. มีเจตคติที่ดี ต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้

    ตอบลบ
  54. วิสัยทัศน์
    โรงเรียนจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย ภายใต้บริบทของชุมชน และสังคม ให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุล มีคุณภาพได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
    พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ วัดผล ประเมินผล ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีและใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ระดมทรัพยากรจากชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา
    ภารกิจ
    เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านไพรษรสำโรง (ราษฎรบำรุง) บรรลุตามวิสัยทัศน์ โรงเรียนจึงดำเนินการดังนี้ ดังนี้
    1. เตรียมความพร้อมให้กับเด็ก 3 – 5 ปี ให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน มีคุณภาพได้มาตรฐาน
    2. พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้
    3. สนับสนุนให้ครูใช้สื่อ เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน
    4. ระดมทรัพยากรจากชุมชน และใช้ภูมิปัญญามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา

    เป้าหมาย
    1. เตรียมความพร้อมให้กับเด็กปฐมวัยในเขตบริการให้มีความพร้อม และมีคุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    2. ครุผู้สอนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนา และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการ สอน ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้
    3. ครูผู้สอนร้อยละ 100 ใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการ จัดการเรียนการสอน
    4. ชุมชนร้อยละ 70 ให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุน ทรัพยากรในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
    คุณลักษณะตามวัย เน้นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัย ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาเด็ก ให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุ อาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจน ต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือ และแก้ไขได้ทันท่วงที คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ ของเด็กอายุ 3 – 5 ปี มีดังนี้

    ตอบลบ
  55. ตารางที่ 1 แสดงคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ ของเด็ก
    เด็กอายุ 3 ปี
    พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
    • กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
    • รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
    • เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
    • เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
    • ใช้กรรไกรมือเดียวได้ • แสดงอารมณ์ตามความรู้สึกได้
    • ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
    • กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง

    พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญา
    • รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
    • ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
    • เล่นสมมติได้
    • รู้จักการรอคอย • สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
    • บอกชื่อของตนเองได้
    • ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
    • สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้
    • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
    • ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้.
    • รู้จักใช้คำถาม “อะไร”
    • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
    • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว

    เด็กอายุ 4 ปี
    พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
    • กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
    • รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
    • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
    • ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
    • เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
    • กระฉับกระเฉง ไม่ชอบอยู่เฉย
    • แต่งตัวได้ด้วยตนเอง
    • ไปห้องส้วมได้เอง
    • เล่นร่วมกับผู้อื่นได้
    • รอคอยตามลำดับ ก่อนหลัง
    • แบ่งของให้คนอื่น
    • เก็บของเล่นเข้าที่ได้ • แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
    • เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ และผลงาน ของตนเองและผู้อื่นได้
    • ชอบท้าทายผู้ใหญ่
    • ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
    • จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาททั้ง 5 ได้
    • บอกชื่อและนามสกุล ของตนเองได้
    • พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง หลังจากได้
    รับคำชี้แนะ
    • สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่อง เป็นประโยค
    อย่างต่อเนื่อง
    • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
    • รู้จักใช้คำถาม “ทำไม”

    เด็กอายุ 5 ปี
    พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
    • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
    • รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
    • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
    • เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
    • ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
    • ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
    • ยืดตัวคล่องแคล่ว • แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
    • ชื่นชมความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น
    • ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

    ตอบลบ
  56. สาระการเรียนรู้
    สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะ หรือกระบวนการ และคุณลักษณะ หรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก บุคคล และสถานที่ ที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก ที่เด็กมีโอกาสใกล้ชิด หรือมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งที่เด็กจับใจ จะไม่เน้นเนื้อหาการท่องจำ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะ หรือกระบวนการจำเป็นต้องบูรณาการ ทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันควรปลูกฝังให้เด็กเกิดเจตคติที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น การเรียนรู้ รักธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม และมีคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น
    ผู้สอน หรือผู้จัดการศึกษา จะนำสาระการเรียนรู้มาจัดในลักษณะหน่วยการสอนแบบบูรณาการ หรือเลือกใช้วิธีการที่สอดคล้องกับปรัชญา และหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วน ดังนี้
    1. ประสบการณ์สำคัญ
    ประสบการณ์สำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญ สำหรับการสร้างองค์ความรู้ โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ บุคคลต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกันด้วย ประสบการณ์สำคัญ มีดังนี้
    1.1 ประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่
    การทรงตัว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
    - การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
    - การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์
    - การเล่นเครื่องเล่นสนาม
    การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก
    - การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
    - การเขียนภาพและการเล่นกับสี
    - การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ด้วยดินเหนียว ดินน้ำมัน แท่งไม้ เศษวัสดุ ฯลฯ
    - การต่อของ บรรจุ เท และแยกชิ้นส่วน
    การรักษาสุขภาพ
    - การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
    การรักษาความปลอดภัย
    - การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
    1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่
    ดนตรี
    - การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
    - การเล่นเครื่องดนตรีง่ายๆ เช่น เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ
    - การร้องเพลง
    สุนทรียภาพ
    - การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งดีงาม
    - การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขันและเรื่องราว / เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ
    การเล่น
    - การเล่นอิสระ
    - การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม
    - การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
    คุณธรรม จริยธรรม
    - การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ

    ตอบลบ
  57. 1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่
    การเรียนรู้ทางสังคม
    - การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตน
    - การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    - การวางแผนตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
    - การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ และความต้องการของตนเอง และผู้อื่น
    - การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
    - การแก้ปัญหาในการเล่น
    - การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
    1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่
    การคิด
    - การรู้จักสิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
    - การเลียนแบบการกระทำและเสียงต่างๆ
    - การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่าย และรูปแบบต่างๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
    - การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงาน
    - การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุต่างๆ
    การใช้ภาษา
    - การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
    - การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
    - การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
    - การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
    - การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก เช่นเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง
    - การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก อ่านภาพ หรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน / เรื่องราวที่สนใจ
    การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
    - การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่างๆ
    - การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม
    - การเปรียบเทียบ เช่น ยาว / สั้น ขรุขระ / เรียบ ฯลฯ
    - การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
    - การคาดคะเนสิ่งต่างๆ
    - การตั้งสมมุติฐาน
    - การทดลองสิ่งต่างๆ
    - การสืบค้นข้อมูล
    - การใช้หรืออธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
    จำนวน
    - การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า / น้อยกว่า / เท่ากัน
    - การนับสิ่งต่างๆ
    - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
    - การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวน หรือปริมาณ
    มิติสัมพันธ์ (พื้นที่ / ระยะ)
    - การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก การบรรจุและการเทออก
    - การสังเกตสิ่งต่างๆและสถานที่จากมุมมองที่ต่างๆกัน
    - การอธิบายในเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ของคน และสิ่งต่างๆ
    - การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่าย และรูปภาพ
    เวลา
    - การเริ่มต้น และการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ
    - การเปรียบเทียบเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ
    - การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่างๆ
    - การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของฤดู

    ตอบลบ
  58. 2. สาระที่ควรเรียนรู้
    สาระที่ควรเรียนรู้เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการและความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ ผ่านประสบการณ์สำคัญที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้ โดยคำนึงถึงเนื้อหา และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก สาระที่เด็กอายุ 3- 5 ปี ควรเรียนรู้มีดังนี้
    2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
    เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาดปลอดภัย การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและแสดงมารยาทที่ดี
    2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
    เด็กควรได้มีโอกาสรู้จัก และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
    2.3 ธรรมชาติรอบตัว
    เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน
    2.4 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
    เด็กควรจะได้รู้จักสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆรอบตัว สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
    ระยะเวลาเรียน
    ใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ให้เด็ก 1-2 ปี การศึกษา โดยประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กที่เริ่มเข้าเรียนในโรงเรียน และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2546
    โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
    โรงเรียนบ้านไพรษรสำโรง (ราษฎรบำรุง) ได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ดังนี้
    ด้านมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสภาพที่พึงประสงค์ ได้ดำเนินการวิเคราะห์จุดหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำหนดเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน 12 มาตรฐาน ตัวบ่งชี้จำนวน 27 ตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์จำแนกตามระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4-5 ปี) ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 5-6 ปี)

    ตอบลบ
  59. การจัดประสบการณ์
    การจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะคุณธรรม
    จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมีหลักการ และแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้
    1. หลักการจัดประสบการณ์
    1.1 จัดประสบการณ์การเล่น และการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่าง ต่อเนื่อง
    1.2 เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
    1.3 จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญทั้งกระบวนการ และผลผลิต
    1.4 จัดประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์
    1.5 ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
    2. แนวทางการจัดประสบการณ์
    2.1 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ คือ เหมาะสมกับอายุ วุฒิภาวะ และรับพัฒนาการเพื่อให้เด็กทุกคน ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
    2.2 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้ คือ เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
    2.3 จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการ คือ บูรณาการทั้งทักษะ และสาระการเรียนรู้
    2.4 จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่มคิดวางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิด โดยผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก
    2.5 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ในบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุข และเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่างๆกัน
    2.6 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่ หลากหลาย และอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก
    2.7 จัดประสบการณ์ที่เสริมลักษณะนิสัยที่ดี และทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    2.8 จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้
    2.9 ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการประสบการณ์ทั้งการวางแผน การสนับสนุนสื่อการสอน การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ
    2.10 จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลนำมาไตร่ตรอง และใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน
    3. การจัดกิจกรรมประจำวัน
    กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย (4-5 ปี) สามารถนำมาจัดเป็นกิจกรรมประจำวันได้หลายรูปแบบ เป็นการช่วยให้ทั้งผู้สอนและเด็กทราบว่าแต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไร เมื่อใด และอย่างไร การจัดกิจกรรมประจำวัน มีหลักการจัดและขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน ดังนี้
    3.1 หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน
    3.1.1 กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน
    3.1.2 กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนานเกินกว่า 20 นาที
    3.1.3 กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรี เช่น การเล่นตามมุม การเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที
    3.1.4 กิจกรรมควรมีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องและนอกห้อง กิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กกิจกรรมที่เป็นรายบุคคล กิจกรรมกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและผู้สอนเป็นผู้ริเริ่มและ กิจกรรมที่ใช้กำลัง และไม่ใช้กำลัง จัดให้ครอบคลุมทุกประเภท ทั้งนี้ กิจกรรมที่ต้องออกกำลังกายควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก เพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อยเกินไป

    ตอบลบ
  60. 3.2 ขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน
    การเลือกกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวัน ต้องให้ครอบคุลมสิ่งต่อไปนี้
    3.2.1 การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ การเคลื่อนไหว และความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่างๆ จึงควรจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี
    3.2.2 การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา จึงควรจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกมต่อภาพ ฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม ใช้อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว ฯลฯ
    3.2.3 การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยรรม เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดี ต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัยในตนเอง รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด เมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย และศาสนาที่นับถือ จึงควรจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเล่น ให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือก ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ ได้ฝึกปฏิบัติโดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรม ตลอดเวลาที่โอกาสเอื้ออำนวย
    3.2.4 การพัฒนาสังคมนิสัย เพื่อให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีนิสัยรักการทำงาน รู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น จึงควรจัดให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหาร พักผ่อนนอนหลับ ขับถ่าย ทำความสะอาดร่างกาย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎกติกาข้อตกลงของส่วนรวม เก็บของเข้าที่เมื่อเล่นหรือทำงานเสร็จ ฯลฯ
    3.2.5 การพัฒนาความคิด เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอด สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ แก้ปัญหา จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กสนทนา อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ ประกอบอาหาร หรือจัดให้เด็กได้เล่นเกมการศึกษาที่เหมาะสม กับวัยอย่างหลากหลาย ฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการทำกิจกรรม ทั้งที่เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มใหญ่ หรือรายบุคคล
    3.2.6 การพัฒนาภาษา เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษาสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เด็กมีประสบการณ์ จึงควรจัดกิจกรรมทางภาษา ให้มีความหลากหลายในสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน และบุคลากรที่แวดล้อมต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในการใช้ภาษา ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักการจัดกิจกรรมทางภาษา ที่เหมาะสม
    3.2.7 การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและเห็นความสวยงามของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยใช้กิจกรรมศิลปะและดนตรีเป็นสื่อ ใช้การเคลื่อนไหวและจังหวะตามจินตนาการ ให้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆอย่างอิสระตามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก เล่นบทบาทสมมุติในมุมเล่นต่างๆ เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นก่อสร้างสิ่งต่างๆ เช่นแท่งไม้รูปทรงต่างๆ ฯลฯ

    การประเมินพัฒนาการ
    การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ทั้งนี้ให้มุ่งนำข้อมูลการประเมินมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตร การประเมินพัฒนาการควรยึดหลัก ดังนี้
    1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
    2. ประเมินเป็นรายบุคคล อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
    3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
    4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
    5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ สำหรับวิธีการที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กอายุ 3-5 ปี ได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนา การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานของเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ

    ตอบลบ
  61. การบริหารจัดการหลักสูตร
    บทบาทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหลักสูตร
    การนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพตามจุดหมายของหลักสูตร ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหลักสูตรในระบบสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง และชุมชน มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็ก
    1. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย
    การจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยในระบบสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาท ดังนี้
    1.1 ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และมีวิสัยทัศน์ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย
    1.2 คัดเลือกบุคลกรที่ทำงานกับเด็ก เช่น ผู้สอน พี่เลี้ยง อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณสมบัติหลักของบุคลกร ดังนี้
    1.2.1 มีวุฒิทางการศึกษาด้านการอนุบาล การศึกษาปฐมวัยหรือผ่าน การอบรมเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
    1.2.2 มีความรักเด็ก จิตใจดี มีอารมณ์ขันและใจเย็น ให้ความเป็นกันเองกับเด็กอย่างเสมอภาค
    1.2.3 มีบุคลิกของความเป็นผู้สอน เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของเด็กตามวัย
    1.2.4 พูดจาสุภาพเรียบร้อย ชัดเจนเป็นแบบอย่างได้
    1.2.5 มีความเป็นระเบียบวินัยและแบบอย่างได้
    1.2.6 มีความอดทนขยันซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และการปฏิบัติต่อเด็ก
    1.2.7 มีอารมณ์ร่วมกับเด็กรู้จักรับฟัง พิจารณาเรื่องราวต่างๆของเด็ก และตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผลด้วยความเป็นธรรม
    1.2.8 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตสมบูรณ์
    1.3 ส่งเสริมการจัดบริการทางการศึกษาให้เด็กได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึงและเสมอภาคและปฏิบัติการรับเด็กตามเกณฑ์ที่กำหนด
    1.4 ส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้ปฏิบัติงานกับเด็กพัฒนาตนเองมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
    1.5 เป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยร่วมให้ความเห็นชอบ กำหนดวิสัยทัศน์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กทุกช่วงอายุ
    1.6 สร้างความร่วมมือและประสานกับบุคลากรทุกฝ่ายในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
    1.7 จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็ก งานวิชาการหลักสูตรอย่าง เป็นระบบและมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษา
    1.8 สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมตลอดจนสื่อวัสดุ อุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
    1.9 นิเทศกำกับติดตามการใช้หลักสูตร โดยจัดให้มีการนิเทศภายในอย่างมีระบบ
    1.10 กำกับติดตามให้มีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและนำผลจากการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพเด็ก
    1.11 กำกับติดตามให้มีการประเมินการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาสาระของหลักสูตร ของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก บริบทสังคม และให้มีความทันสมัย

    ตอบลบ
  62. 2. บทบาทผู้สอนปฐมวัย
    การพัฒนาคุณภาพเด็กโดยถือว่าเด็กมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้เด็กสามารถพัฒนาตนตามธรรมชาติ สอดคล้องกับพัฒนาการและเต็มตามศักยภาพ ดังนั้น ผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะทำให้กระบวนการจัดการ เรียนรู้ดังกล่าวบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนจึงควรมีบทบาท / หน้าที่ ดังนี้
    2.1 บทบาทในฐานะผู้เสริมสร้างการเรียนรู้
    2.1.1 จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กที่เด็กกำหนดขึ้นด้วยตัวเด็กเองและผู้สอนกับเด็กร่วมกันกำหนด โดยเสริมสร้างพัฒนาการ เด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน
    2.1.2 ส่งเสริมให้เด็กใช้ข้อมูลแวดล้อมศักยภาพของตัวเด็กและหลักทางวิชาการในการผลิต กระทำ หรือหาคำตอบในสิ่งที่เด็กเรียนรู้อย่างมีเหตุผล
    2.1.3 กระตุ้นให้เด็กร่วมคิดแก้ปัญหา ค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง ด้วยวิธีการศึกษาที่นำไปสู่การใฝ่รู้ และพัฒนาตนเอง
    2.1.4 จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนที่ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมได้เต็มศักยภาพและความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล
    2.1.5 สอดแทรกการอบรมด้านจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
    2.1.6 ใช้กิจกรรมการเล่นเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    2.1.7 ใช้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและเด็ก ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
    2.1.8 จัดการประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพจริงและนำผลการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาคุณภาพเด็กเต็มศักยภาพ
    2.2 บทบาทในฐานะผู้ดูแลเด็ก
    2.2.1 สังเกตและส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
    2.2.2 ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
    2.2.3 ฝึกให้เด็กมีความเชื่อมั่น มีความภูมิใจในตนเองและกล้าแสดงออก
    2.2.4 ฝึกการเรียนรู้หน้าที่ ความมีวินัย และการมีนิสัยที่ดี
    2.2.5 จำแนกพฤติกรรมเด็กและสร้างเสริมลักษณะนิสัยและแก้ปัญหา เฉพาะบุคคล
    2.2.6 ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา บ้าน และชุมชน เพื่อให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
    2.3 บทบาทในฐานะนักพัฒนาเทคโนโลยีการสอน
    2.3.1 นำนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการสอนมาประยุกต์ใช้อย่าง เหมาะสมกับสภาพบริบทสังคม ชุมชน และท้องถิ่น
    2.3.2 ใช้เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
    2.3.3 จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร /กระบวน การเรียนรู้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้
    2.3.4 พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะของผู้ ใฝ่รู้ใฝ่มีวิสัยทัศน์และทันสมัยทันเหตุการณ์ในยุคของข้อมูล ข่าวสาร
    2.4 บทบาทในฐานะผู้บริหารหลักสูตร
    2.4.1 ทำหน้าที่วางแผนกำหนดหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้
    2.4.2 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กมีอิสระในการเรียนรู้ทั้งกายและใจ เปิดโอกาสให้เด็กเรียน / ทำงาน และเรียนรู้ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
    2.4.3 ประเมินผลการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น

    ตอบลบ
  63. 3. บทบาทของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
    การศึกษาระดับปฐมวัยเป็นการศึกษาที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ผู้สอนและพ่อแม่ หรือผู้ปกครองต้องสื่อสารกันตลอดเวลา เพื่อความเข้าใจตรงกันและพร้อมร่วมมือกันในการจัดการศึกษาให้กับเด็ก ดังนั้น พ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรมีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
    3.1 มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาและให้ความเห็นชอบ กำหนดแผนการเรียนรู้ของเด็กร่วมกับผู้สอนและเด็ก
    3.2 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กเต็มศักยภาพ
    3.3 เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ จัดบรรยากาศภายในบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้
    3.4 สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสมและจำเป็น
    3.5 อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ และให้ความรัก ความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก
    3.6 ป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ตลอดจนส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยประสานความร่วมมือกับผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง
    3.7 เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการปฏิบัติตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมีคุณธรรมนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้
    3.8 มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กประเมินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

    ตอบลบ
  64. 4. บทบาทของชุมชน
    การปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ชุมชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ดังนั้น ชุมชนจึงมีบทบาทในการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้
    4.1 มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ในบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา สมาคม/ชมรมผู้ปกครอง
    4.2 มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของสถานศึกษา
    4.3 เป็นศูนย์การเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ ให้เด็กเรียนรู้และมีประสบการณ์จากสภาพจริง
    4.4 ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
    4.5 ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทุกด้าน รวมทั้ง สืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ของท้องถิ่นและของชาติ
    4.6 ประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
    4.7 มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา ทำหน้าที่เสนอแนะในการจัดการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา

    ตอบลบ
  65. การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม
    การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย มีความสำคัญต่อเด็กเนื่องจากธรรมชาติของเด็กในวัยนี้สนใจที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า ทดลองและต้องการสัมผัสสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ดังนั้นการจัด เตรียมสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตามความต้องการของเด็ก จึงมีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้จากการเล่นที่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จึงจำเป็นต้องจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของหลักสูตร เพื่อส่งผลให้บรรลุจุดหมายในการพัฒนาเด็ก
    การจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
    1. ความสะอาด ความปลอดภัย
    2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
    3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
    4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ
    5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สี ของสื่อและเครื่องเล่น
    6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เรียนและมุมประสบการณ์ต่างๆ

    สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
    หลักสำคัญในการจัดต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะอาด เป้าหมาย
    การพัฒนาเด็ก ความเป็นระเบียบ ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมีความสุข ซึ่งอาจจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรม
    ตามหลักสูตร ดังนี้
    1. พื้นที่อำนวยความสะดวกเพื่อเด็กและผู้สอน
    1.1 ที่แสดงผลงานของเด็ก อาจจัดเป็นแผ่นป้าย หรือที่แขวนผลงาน
    1.2 ที่เก็บแฟ้มผลงานของเด็ก อาจจัดทำเป็นกล่องหรือจัดใส่แฟ้มรายบุคคล
    1.3 ที่เก็บเครื่องใช้ส่วนตัวของเด็ก อาจทำเป็นช่องตามจำนวนเด็ก
    1.4 ที่เก็บเครื่องใช้ของผู้สอน เช่น อุปกรณ์การสอน ของส่วนตัวผู้สอน ฯลฯ
    1.5 ป้ายนิเทศตามหน่วยการสอนหรือสิ่งที่เด็กสนใจ
    2. พื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมและการเคลื่อนไหว ต้องกำหนดให้ชัดเจน ควรมีพื้นที่ที่เด็กสามารถจะทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมด้วยกันในกลุ่มเล็ก หรือกลุ่มใหญ่ เด็กสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างอิสระจากกิจกรรมหนึ่งไปยังกิจกรรมหนึ่งโดยไม่รบกวนผู้อื่น
    3. พื้นที่จัดมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์ สามารถจัดได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพของห้องเรียน จัดแยกส่วนที่ใช้เสียงดังและเงียบออกจากกัน เช่น มุมบล็อก อยู่ห่างจากมุมหนังสือ มุมบทบาทสมมุติอยู่ติดกับมุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์อยู่ใกล้กับมุมศิลปะ ฯลฯ ที่สำคัญจะต้องมีของเล่น วัสดุอุปกรณ์ในมุมอย่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นในมุมเล่นอย่างเสรี มักถูกกำหนดไว้ในตารางกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้โอกาสเด็กได้เล่นกันอย่างเสรี ประมาณวันละ 60 นาที การจัดมุมเล่นต่างๆผู้สอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
    3.1 ในห้องเรียนควรมีมุมเล่นอย่างน้อย 3-5 มุม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของห้อง
    3.2 ควรได้มีการผลัดเปลี่ยนสื่อของเล่นตามมุมบ้าง ตามความสนใจของเด็ก
    3.3 การจัดให้มีประสบการณ์ที่เด็กเรียนรู้ไปแล้วปรากฏอยู่ในมุมเล่น เช่น เด็กเรียนรู้เรื่องผีเสื้อ ผู้สอนอาจจัดให้มีการเลี้ยงหนอน หรือมีผีเสื้อสต๊าฟใส่กล่องไว้ให้เด็กดูในมุมธรรมชาติศึกษาหรือมุมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
    3.4 ควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนในการจัดมุมเล่น ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้เด็กรู้สึกเป็น เจ้าของ อยากเรียนรู้ อยากเข้าเล่น
    3.5 ควรเสริมสร้างวินัยให้กับเด็ก โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าเมื่อเล่นเสร็จแล้วจะต้องจัดเก็บอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าที่ให้เรียบร้อย

    ตอบลบ
  66. ตัวอย่างมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์ที่ควรจัดมี ดังนี้
    มุมบล็อก
    เป็นมุมที่จัดเก็บไม้ตันที่มีขนาดและรูปทรงต่างๆกัน เด็กสามารถนำมาเล่น
    ต่อประกอบกัน เป็นสิ่งต่างๆตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
    การจัด
    มุมบล็อกเป็นมุมที่ควรจัดให้อยู่ห่างจากความสงบ เช่น มุมหนังสือ ทั้งนี้ เพราะเสียงจากการเล่นก่อไม้บล็อก อาจทำลายสมาธิของเด็กที่อยู่ในมุมหนังสือได้
    นอกจากนี้ยังควรอยู่ห่างจากทางเดินผ่านหรือทางเข้าออกของห้องเพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดินหรือเกิดอันตรายจากการเดินสะดุดไม้บล็อก
    การจัดเก็บไม้บล็อกเหล่านี้ ควรจัดวางไว้ในระดับที่เด็กสามารถหยิบมาเล่น หรือนำเก็บไว้ด้วยตนเองได้อย่างสะดวก ปลอดภัยและควรฝึกให้เด็กหัดจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบสวยงาม
    มุมหนังสือ
    ในห้องเรียนควรมีที่เงียบสงบ สำหรับให้เด็กได้ดูรูปภาพ อ่านหนังสือนิทาน ฟังนิทาน ผู้สอนควรได้จัดมุมหนังสือให้เด็กได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ และได้ทำกิจกรรมสงบตามลำพัง หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ
    การจัด
    มุมหนังสือ เป็นมุมที่ต้องการความสงบควรจัดห่างจากมุมที่มีเสียง เช่น มุมบล็อก มุมบทบาทสมมุติ ฯลฯ และควรจัดบรรยากาศจูงใจให้เด็กได้เข้าไปใช้เพื่อเด็กจะได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็ก
    มุมบทบาทสมมุติ
    มุมบทบาทสมมุติเป็นมุมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้นำเอาประสบการณ์ที่ได้รับจากบ้านหรือชุมชนมาเล่นแสดงบทบาทสมมุติเลียนแบบบุคคลต่างๆตามจินตนาการของตน เช่น เป็นพ่อแม่ในมุมบ้าน เป็นหมอในมุมหมอ เป็นพ่อค้าแม่ค้าในมุมร้านค้า ฯลฯ การเล่นดังกล่าวเป็นการปลูกฝังความสำนึกถึงบทบาททางสังคมที่เด็กได้พบเห็นในชีวิตจริง

    ตอบลบ
  67. การจัด
    มุมบทบาทสมมุตินี้ ควรอยู่ใกล้มุมบล็อกและอาจจัดให้เป็นสถานที่ต่างๆ
    นอกเหนือจากการจัดเป็นบ้านโดยสังเกตการเล่นและความสนใจของเด็กว่ามีการเปลี่ยนแปลงบทบาทการเล่นจากบทบาทเดิมไปสู่รูปแบบการเล่นอื่นหรือไม่อุปกรณ์ที่นำมาจัดก็ควรเปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจของเด็กเช่นกันดังนั้นมุมบทบาทสมมุติจึงอาจจัดเป็นบ้าน ร้านอาหาร ร้านขายของ ร้านเสริมสวย โรงพยาบาล เป็นต้น
    ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ที่นำมาจัดให้เด็กก็ต้องไม่เป็นอันตรายและมีความเหมาะสม
    กับสภาพท้องถิ่น
    สื่อและแหล่งการเรียนรู้
    เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาในการจัดการหาสื่อ เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนผลิต ใช้ บำรุงรักษาและพัฒนาสื่อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    การเลือกสื่อ มีวิธีการเลือกสื่อ ดังนี้
    1. เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน
    2. เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
    3. เลือกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นที่เด็กอยู่หรือสถานภาพของสถานศึกษา
    4. มีวิธีการใช้ง่ายและนำไปใช้ได้หลายกิจกรรม
    5. มีความถูกต้องตามเนื้อหาและทันสมัย
    6. มีคุณภาพดี เช่น ภาพชัดเจน ขนาดเหมาะสม ไม่ใช้สีสะท้อนแสง
    7. เลือกสื่อที่เด็กเข้าใจง่ายในเวลาสั้นๆ ไม่ซับซ้อน
    8. เลือกสื่อที่สามารถสัมผัสได้
    9. เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึก และส่งเสริมการคิดเป็น ทำเป็น และกล้าแสดงความคิดเห็นด้วยความมั่นใจ
    การจัดหาสื่อ สามารถจัดหาได้หลายวิธีคือ
    1. จัดหาโดยการขอยืมจากแหล่งต่างๆ เช่น ศูนย์สื่อของสถานศึกษาของรัฐบาล หรือสถานศึกษาของเอกชน ฯลฯ
    2. จัดซื้อสื่อและเครื่องเล่นโดยวางแผนการจัดซื้อตามลำดับความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณ ที่ทางสถานศึกษาสามารถจัดหาให้ และสอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์
    3. ผลิตสื่อและเครื่องเล่นขึ้นใช้เอง โดยใช้วัสดุที่ปลอดภัยและหาง่าย เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น กระดาษแข็งจากลังกระดาษ รูปภาพจากแผ่นป้ายโฆษณา รูปภาพจากหนังสือนิตยสารต่างๆ เป็นต้น

    ตอบลบ
  68. ขั้นตอนการดำเนินการผลิตสื่อสำหรับเด็ก มีดังนี้
    1. สำรวจความต้องการของการใช้สื่อให้ตรงกับจุดประสงค์สาระการเรียนรู้และกิจกรรมที่จัด
    2. วางแผนการผลิต โดยกำหนดจุดมุ่งหมายและรูปแบบของสื่อให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
    3. ผลิตสื่อตามรูปแบบที่เตรียมไว้
    4. นำสื่อไปทดลองใช้หลายๆครั้ง เพื่อหาข้อดี ข้อเสีย จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
    5. นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้จริง
    การใช้สื่อ ดำเนินการดังนี้
    1. การเตรียมพร้อมก่อนใช้สื่อ มีขั้นตอน คือ
    1.1 เตรียมตัวผู้สอน
    - ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายและวางแผนว่าจะจัดกิจกรรมอะไรบ้าง
    - เตรียมจัดหาสื่อและศึกษาวิธีการใช้สื่อ
    - จัดเตรียมสื่อและวัสดุอื่นๆ ที่จะต้องใช้ร่วมกัน
    - ทดลองใช้สื่อก่อนนำไปใช้จริง
    1.2 เตรียมตัวเด็ก
    - ศึกษาความรู้พื้นฐานเดิมของเด็ก ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่จะสอน
    - เร้าความสนใจเด็กโดยใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน
    - ให้เด็กมีความรับผิดชอบ รู้จักใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ทำลาย เล่นแล้วเก็บให้ถูกที่
    1.3 เตรียมสื่อให้พร้อมก่อนนำไปใช้
    - จัดลำดับการใช้สื่อว่าจะใช้อะไรก่อนหรือหลัง เพื่อความสะดวกในการสอน
    - ตรวจสอบและเตรียมเครื่องมือให้พร้อมที่จะใช้ได้ทันที
    - เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ร่วมกับสื่อ
    2. การนำเสนอสื่อเพื่อให้บรรลุผลโดยเฉพาะในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ควรปฏิบัติ ดังนี้
    2.1 สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจให้เด็กก่อนจัดกิจกรรมทุกครั้ง
    2.2 ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรมที่กำหนดไว้
    2.3 ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลาย ๆ ชนิดพร้อม ๆ กัน เพราะจะทำให้เด็กไม่สนใจกิจกรรมที่สอน
    2.4 ผู้สอนควรยืนอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้กับเด็ก ผู้สอนไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก จะต้องพูดคุยกับเด็กและสังเกตความสนใจของเด็ก พร้อมทั้งสำรวจข้อบกพร่องของสื่อที่ใช้ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
    2.5 เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมใช้สื่อ
    ข้อควรระวังในการใช้สื่อการเรียนการสอน การใช้สื่อในระดับปฐมวัย ควรระวังในเรื่องต่อไปนี้
    1. วัสดุที่ใช้ ต้องไม่มีพิษ ไม่หักและแตกง่าย มีพื้นผิวเรียบไม่เป็นเสี้ยน
    2. ขนาด ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะยากต่อการหยิบยก อาจจะตกลงมาเสียหาย แตกเป็นอันตรายต่อเด็กหรือใช้ไม่สะดวก เช่นกรรไกรขนาดใหญ่ โต๊ะ เก้าอี้ที่ใหญ่ และสูงเกินไป และไม่ควรมีขนาดเล็กเกินไป เด็กอาจจะนำไปอม หรือกลืน ทำให้ติดคอหรือไหลลงท้องได้ เช่น ลูกปัดเล็ก ลูกแก้วเล็ก ฯลฯ
    3. รูปทรง ไม่เป็นรูปทรงแหลม รูปทรงเหลี่ยม เป็นสัน
    4. น้ำหนัก ไม่ควรมีน้ำหนักมาก เพราะเด็กยกหรือหยิบไม่ไหว อาจจะตกลงมาเป็นอันตรายต่อตัวเด็ก
    5. สื่อที่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก เช่น สารเคมี วัตถุไวไฟ ฯลฯ
    6. สีที่เป็นอันตรายต่อสายตา เช่น สีสะท้อนแสง ฯลฯ

    ตอบลบ
  69. การประเมินการใช้สื่อ
    ควรพิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้สอน เด็ก สื่อ เพื่อจะได้ทราบว่าสื่อนั้น ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด จะได้นำมาปรับปรุงการผลิต และการใช้สื่อให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้วิธีสังเกต ดังนี้
    1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
    2. เด็กชอบสื่อนั้นเพียงใด
    3. สื่อนั้นช่วยการสอนตรงกับจุดประสงค์หรือไม่ ถูกต้องตามสาระการเรียนรู้และทันสมัยหรือไม่
    4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด
    การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
    การจัดเก็บสื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กฝึกการสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม ส่งเสริมความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ ช่วยเหลือ ผู้สอนไม่ควรใช้การเก็บสื่อ เป็นการลงโทษเด็ก โดยดำเนินการ ดังนี้
    1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ ประเภทของสื่อ สื่อที่เหมือนกันจัดเก็บหรือจัดวางไว้ด้วยกัน
    2. วางสื่อในระดับสายตาของเด็ก เพื่อให้เด็กหยิบใช้จัดเก็บได้ด้วยตนเอง
    3. ภาชนะที่จัดเก็บสื่อควรโปร่งใส เพื่อให้เด็กเห็นสิ่งที่อยู่ภายในได้ง่าย และควรมีมือจับเพื่อให้สะดวกในการขนย้าย
    4. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ ประเภทสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง การใช้สัญลักษณ์ควรมีความหมายต่อการเรียนรู้ของเด็ก สัญลักษณ์ควรใช้สื่อของจริง ภาพถ่ายหรือสำเนา ภาพวาด ภาพโครงร่าง หรือภาพประจุด หรือบัตรคำติดคู่สัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    5. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
    6. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด

    ตอบลบ
  70. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจน การเรียนรู้อย่างเหมาะสมด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเอง ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
    1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
    2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึง
    ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
    3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
    4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
    5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาใน
    การพัฒนาเด็ก
    แต่เท่าที่ผ่านมา ผลการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โดยเฉพาะการพัฒนาการของนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นครูจำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนตั้งแต่ เริ่มต้น ถ้าละเลยข้อบกพร่องนั้น ก็จะทำให้นักเรียนขาดความพร้อมตลอดไป และเพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ครูควรสนับสนุนและหาวิธีการจัดกิจกรรมใหม่ๆที่น่าสนใจมาส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์ และมีทักษะและพัฒนาการดียิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2538 : 2) ได้ทำการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า วิธีการเรียนด้วยตนเองมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อการเรียนทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะการฟัง การพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิธีการเรียนด้วยตนเอง คือเรียนจากสื่อที่ผู้วิจัยหรือครูสร้างขึ้น เช่น ชุดฝึกทักษะ หนังสือเล่มเล็ก หน่วยการเรียน บทเรียนโปรแกรม ฯลฯ สื่อเหล่านี้จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยา คือ 1) ผู้เรียนกระทำด้วยตนเอง 2) เรียนเนื้อหาที่อยู่ในชีวิตประจำวัน 3) เรียนจากง่ายไปหายาก 4) มีการทดสอบข้อมูลย้อนกลับ 5) เรียนรู้โดยแข่งกับตนเองไม่แข่งกับผู้อื่น ทำให้ไม่เครียด มีความสุขในการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการที่ในการใช้สร้างสื่อ การเรียนให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง

    ตอบลบ
  71. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจน การเรียนรู้อย่างเหมาะสมด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเอง ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
    1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
    2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึง
    ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
    3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
    4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
    5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาใน

    ตอบลบ
  72. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจน การเรียนรู้อย่างเหมาะสมด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเอง ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
    1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
    2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึง
    ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
    3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
    4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
    5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาใน
    การพัฒนาเด็ก

    ตอบลบ
  73. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจน การเรียนรู้อย่างเหมาะสมด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเอง ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
    1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
    2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึง
    ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
    3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
    4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
    5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาใน
    การพัฒนาเด็ก

    ตอบลบ
  74. แต่เท่าที่ผ่านมา ผลการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โดยเฉพาะการพัฒนาการของนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นครูจำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนตั้งแต่ เริ่มต้น ถ้าละเลยข้อบกพร่องนั้น ก็จะทำให้นักเรียนขาดความพร้อมตลอดไป และเพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ครูควรสนับสนุนและหาวิธีการจัดกิจกรรมใหม่ๆที่น่าสนใจมาส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์ และมีทักษะและพัฒนาการดียิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2538 : 2) ได้ทำการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า วิธีการเรียนด้วยตนเองมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อการเรียนทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะการฟัง การพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิธีการเรียนด้วยตนเอง คือเรียนจากสื่อที่ผู้วิจัยหรือครูสร้างขึ้น เช่น ชุดฝึกทักษะ หนังสือเล่มเล็ก หน่วยการเรียน บทเรียนโปรแกรม ฯลฯ สื่อเหล่านี้จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยา คือ 1) ผู้เรียนกระทำด้วยตนเอง 2) เรียนเนื้อหาที่อยู่ในชีวิตประจำวัน 3) เรียนจากง่ายไปหายาก 4) มีการทดสอบข้อมูลย้อนกลับ 5) เรียนรู้โดยแข่งกับตนเองไม่แข่งกับผู้อื่น ทำให้ไม่เครียด มีความสุขในการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการที่ในการใช้สร้างสื่อ การเรียนให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง
    กอปรกับโลกยุคปัจจุบันชีวิตของคนเราต้องเกี่ยวข้องตัวเลข จำเป็นอย่างยิ่ง ที่หลักสูตรการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับจำนวนตัวเลข ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น มีทักษะในการคิดคำนวณเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และความอยู่รอดในการครองชีพ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์มาก การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลขต้องเริ่มมาจาก ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่เคยสอนระดับอนุบาลเป็นเวลาของผู้วิจัย ได้เห็นว่าผู้เรียนในระดับช่วงชั้นนี้มีปัญหาในด้านการเรียนวิชานี้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งสถานศึกษาขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนในบางช่วงชั้นไม่ได้รับการฝึกทักษะหรือปูพื้นฐานมาก่อน การจัดกระบวนการเรียนการสอนในวิชานี้ไม่เป็นไปตามขั้นตอนขาดความต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในวิชานี้ ในปีการศึกษา 2548 ภาคเรียนที่ 1 จากการทดสอบความรู้พื้นฐานโดยใช้ข้อสอบที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี ได้ค้นพบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไพรษรสำโรง (ราษฎรบำรุง) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1 มีนักเรียนจำนวน 10 คน จากการทดสอบเรื่องการรู้จักค่าจำนวน 1 – 10 โดยใช้ข้อสอบที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นมีนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คะแนนเฉลี่ยทั้งห้องร้อยละ 57.39 ซึ่งเป็นผลที่ไม่น่าพอใจนักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก ซึ่งผลที่ตามมาก็คือนักเรียนไม่สามารถบอกค่าจำนวน 1 – 10 ได้ และนักเรียนมีความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่เหมาะสมกับระดับชั้น ผู้เรียนอาจมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นซึ่งเป็นการล้มเหลวในกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เพราะวิชาคณิตศาสตร์ถือว่าเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเราจำเป็นต้องฝึกฝนปูพื้นมาตั้งแต่เริ่มเรียน
    ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีพยายามมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการรู้จักค่าจำนวน 1 – 10 เพื่อปูพื้นฐานการบวกลบให้กับผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการบอกค่าของตัวเลขของนักเรียนให้เหมาะสมกับระดับชั้นอนุบาล ของนักเรียนทั้ง 10 คน เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เน้นให้เห็นความสำคัญของวิชานี้ และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียนเพื่อใช้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    ตอบลบ